เลื่อน

นายสิทธิศักดิ์ ปะวันเณ นิสิตชั้นปีที่ 2 รหัส 53010515009 สาขาการศึกษาพิเศษ SED คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กลยุทธ์ในการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


กลยุทธ์ในการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รศ. สมใจ ฤทธิสนธี
อาจารย์พิเศษ, กศ.บ.(ภาษาอังกฤษ),กศ.ม.(จิตวิทยาและการแนะแนว)

          การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  เป็นแนวความคิดที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีบทบาท  มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้โดยการลงมือกระทำ  ปฏิบัติ  แก้ปัญหา  หรือ  ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยยึดความสนใจ   ความสามารถ
ของผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง    และนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้  ตลอดจนเน้น
กระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง จะเรียนอย่างมีความสุข
มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ มีจิตใจที่สดชื่นแจ่มใสในระหว่างดำเนินกิจกรรม
          ก. จุดมุ่งหมายของการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                    ๑. เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น
                    ๒. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถต่างๆ  ตามความสามารถของตน
                    ๓. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำ ปฏิบัติหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
                    ๔. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสนใจความสามารถของตนเอง
                    ๕. เพื่อให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงการเรียนรู้กับสภาพชีวิตประจำวัน
                     ๖. เพื่อให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้กับเพื่อนๆ
          ข. ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                    ๑. จัดตามความสนใจ ความสามารถ ตั้งแต่การร่วมกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อ และ
การประเมินผล
                    ๒. จัดให้ผู้เรียนได้ลงมือทำกิจกรรม ปฏิบัติ แก้ปัญหาหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากสื่อเพื่อน และครู
                    ๓. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะต่างๆ เช่น ทักษะทางการคิดวิเคราะห์ การสังเกต การทดลองค้นคว้า การจดบัน
ทึกตลอดจนการสังเคราะห์การสรุปข้อความรู้ต่างๆของตนเอง
                    ๔. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
                    ๕. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกับเพื่อนๆจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ
          ค. ประเภทของการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                    แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
                    การสอนแบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก และการสอนแบบเน้นสื่อ
                    ๑. แบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก การสอนแบบนี้ได้แก่
          ก. การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ( Problem Base Learning )
          เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียนรู้ ผู้เรียนจะคิดวิเคราะห์ปัญหา  ตั้งสมมุติฐานอันเป็นที่
มาของปัญหา และหาทางทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ผู้เรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่จะเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ มาก่อน เพื่อจะสามารถ
เรียนรู้เนื้อหาใหม่ โดยกระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลักได้   หากพื้นความรู้เดิมของผู้เรียนไม่เพียงพอ   จะต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่ม
เติมด้วยตนเองในการดำเนินการสอนครูจะต้องนำปัญหาที่เป็นความจริงมาเขียนเป็น Case หรือสถานการณ์ในผู้เรียน โดยผู้เรียน
จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
          ๑. ทำความเข้าใจกับศัพท์บางคำ หรือแนวคิดบางอย่างในสถานการณ์นั้นๆ
          ๒. ระบุประเด็นปัญหาจากสถานการณ์
          ๓. วิเคราะห์ประเด็นปัญหา
          ๔. ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ
          ๕. ทดสอบสมมุติฐานและจัดลำดับความสำคัญ
          ๖.  กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
          ๗. รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร และความรู้จากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง
          ๘. สังเคราะห์ข้อมูลใหม่ที่ได้ พร้อมทั้งทดสอบ
          ๙. สรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาปัญหา
          กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก มีลักษณะที่สำคัญ คือ  ผู้เรียนจะ ได้เรียนด้วยกันเป็นกลุ่มๆ ประมาณ ๖ ๘ คน มี
การอภิปรายและค้นคว้าหาความรู้ด้วยกัน   มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง   เนื้อหาสาระที่กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้นั้น  จะเป็นเนื้อหาที่เกิด
จากการบูรณาการเนื้อหาต่าง ๆเข้าด้วยกัน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่กำหนดนั้นอย่างชัดเจน
          ข. การสอนแบบนิรมิตวิทยา ( Constructivism )
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเอง      โดยมีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับความรู้
เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของผู้เรียนอาจได้จากการดำเนินกิจกรรมการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
ระดมสมอง ศึกษาในความรู้ ฯลฯ การตรวจสอบองค์ความรู้ใหม่ทำให้ได้ทั้งการตรวจสอบกันเอง ในระหว่างกลุ่มผู้เรียน ครูจะเป็น
ผู้ที่ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ใหม่ให้ถูกต้อง
          ลำดับขั้นตอนการสอนตามแนวความคิด Constructivism



          รายละเอียดของการดำเนินการสอนตามรูปแบบมีดังนี้
                    ๑. ครูบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน
                    ๒. ครูให้ผู้เรียนระดมพลังสมองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
                    ๓. ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
                    ๔. ครูให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นมาใช้ในสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้
                    ๕. ครูให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนครั้งนี้
          ค. การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด (Concept Attainment)
          เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนทราบถึงคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง    หรือเหตุการณ์ใดเหตุ
การณ์หนึ่ง โดยสามารถระบุลักษณะเด่น ลักษณะรองของสิ่งนั้น ๆได้ สามารถนำความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้  ขั้น
ตอนการสอนมีดังนี้
          ๑. ครูจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการนำเสนอเหตุการณ์รายละเอียดของสิ่งนั้น
          ๒. ครูให้ผู้เรียนระบุลักษณะเด่น ลักษณะรองของสิ่งที่ได้สังเกตและให้ผู้เรียนหาลักษณะที่เหมือนกัน ลักษณะที่แตกต่างกัน
          ๓. ครูให้ผู้เรียนสรุปลักษณะสำคัญที่สังเกตได้พร้อมให้ชื่อของสิ่งนั้น
          ๔. ครูตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนและความเป็นไปได้ ความเหมาะสมของชื่อความคิดรวบยอดนั้น
          ๕. ครูกำหนดสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนได้นำความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นไปใช้
          ง. การสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Co-Operative Learning)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนร่วมมือกันทำงาน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน      มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และประสาน
งานกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียน
          ลักษณะของการจัดการเรียนการสอน
          ๑. จัดชั้นเรียนโดยการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆประมาณ ๒-๖ คน   โดยจัดคละกันตามความสามารถทางการเรียน
มีทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน
          ๒. ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและรับผิดชอบการเรียนรู้ของเพื่อน ๆภายในกลุ่มของตนเองด้วย
          ๓. สมาชิกทุกคนในกลุ่ม จะต้องร่วมมือในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ โดยสนับสนุนยอมรับ  และไว้วางใจซึ่งกันและ
กัน เพื่อให้สมาชิกทุกคนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
          รูปแบบกิจกรรมการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือประสานใจ 
                    ๑. Match Mind (คู่คิด)
                    ๒. Pairs-Check (คู่ตรวจสอบ)
                    ๓. Tree-Step Interview
                    ๔. Think-Pair Share
                    ๕. Team-Word Webbing
                    ๖. Round table
                    ๗. Partners (คู่หู)
                    ๘. Jigsaw
          จ. การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
          เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการใช้ความคิด     พิจารณาตัดสินเรื่องราวปัญหา
ข้อสงสัยต่าง ๆอย่างรอบคอบ และมีเหตุผล ครูจะเป็นผู้นำเสนอปัญหาและดูแลให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมของผู้เรียน กิจกรรม
การสอนจะเริ่มจากปัญหาที่สอดคล้องกับวุฒิภาวะและประสบการณ์ของผู้เรียน ซึ่งยั่วยุผู้เรียนให้อยากศึกษา  ผู้เรียนจะรู้สึกว่าไม่มี
คำตอบหรือคำตอบมีแต่ไม่เพียงพอ ผู้เรียนต้องมีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และใช้กระบวนการคิดอย่างหลากหลาย
รวมทั้งวิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล  และเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การตัดสินเพื่อเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดกับปัญหาที่
นำมาใช้ในบทเรีย
          ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
          ๑. ครูนำเสนอปัญหาซึ่งเป็นคำถามที่เร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิด ผู้เรียนตอบคำถามของครูโดยให้คำตอบที่หลากหลาย
          ๒. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดโดยการอภิปรายร่วมกัน หรือให้ค้นคว้าจากแหล่งความรู้เท่าที่มีอยู่
          ๓. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันคัดเลือกคำตอบที่ตรงกับประเด็นปัญหา
          ๔. ครูให้ผู้เรียนสรุปคำตอบที่เด่นชัดที่สุด
          ๒. แบบเน้นสื่อ
          เป็นประเภทของการสอนในลักษณะใช้สื่อเป็นหลัก เช่น  การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป   การสอนแบบศูนย์การเรียน การ
สอนโดยใช้โปรแกรม CAI เป็นต้น
          ง. การวัดผลและประเมินผล
          การวัดผลและประเมินผลตามแนวการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   จะนิยมใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพแท้จริงใน
ห้องเรียน (Authentic Assessment) ทั้งนี้เนื่องจากการวัดและประเมินผลตามสภาพที่แท้จริงในห้องเรียน จะเป็นการวัดและ
ประเมินผลที่บอกถึงระดับความรู้ ความสามารถที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน อันเนื่องมาจากการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจนกระทั่งได้ชิ้น
งานในรูปแบบหนึ่งออกมาในตอนสุดท้าย   เทคนิคที่นิยมใช้ตามแนว  A.A  ได้แก่การใช้ Portfolio  การใช้แบบทดสอบความสา
มารถจริง (Authentic Test) การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสัมภาษณ์เป็นต้น
          จ. บทบาทของครูตามแนวการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
          บทบาทของครูตามแนวการสอนนี้ จะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีบทบาทใหม่ ดังนี้
          ๑. เป็นผู้จัดการ (Manager) เป็นผู้กำหนดบทบาทให้ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับความ
สามารถ ความสนใจของผู้เรียน
          ๒. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งความรู้ (Helper and resource) เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการในยามที่ผู้เรียน
ต้องการ อันจะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพ
          ๓. เป็นผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนการสอน ให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านสื่ออุปกรณ์ คำแนะนำ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำ
เนินกิจกรรมไปได้อย่างราบรื่น
          ๔. เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ   คอยตรวจสอบกระบวนการทำงาน ผลงานของผู้เรียน  รวมทั้งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
เพื่อนำผลมาปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
          ฉ. บทบาทของผู้เรียนตามแนวการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
          ๑. เป็นผู้ลงมือกระทำ ผู้เรียนจะต้องดำเนินกิจกรรมต่าง ๆที่ครูจัดเตรียมให้ด้วยตนเอง เพื่อผลในการเรียนรู้
          ๒. เป็นผู้มีส่วนร่วม ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน
          ๓. เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้เรียน  ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์   ความคิดเห็น สร้างความสัมพันธ์กับผู้
เรียนอื่น ๆ  ในกลุ่มเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
          ๔. เป็นผู้ประเมิน ผู้เรียนจะต้องคอยตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  ด้วยการประเมินผลด้วยตัวเอง   และผู้
เรียนในกลุ่มเป็นต้น


การเรียนรวม


ที่มา : หนังสือวารสารการศึกษาปฐมวัย หน้าที่ 40 ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม 2546
โดย : รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ, สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก

การเรียนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการได้เข้าเรียนรู้สังคมและสิ่งแวดล้อมของชั้นเรียนเด็กปกติ เพื่อให้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ จากการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและจากการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน นโยบายการศึกษาชาติได้ให้โอกาสทางการศึกษาแก่คนไทยทุกคนให้สามารถเรียนได้ในทุกที่ที่เปิดเรียนทั้งคนปกติและคนไม่ปกติซึ่งหมายถึงผู้พิการ ผู้มีปัญหาสุขภาพ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งนี้ด้วยจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางสังคม เกิดการยอมรับในความเป็นมนุษย์ สร้างความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันนับเป็นนโยบายการศึกษาที่สร้างสรรค์ความเป็นคน และความสมบูรณ์ทางสังคม แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้กำหนดนโยบายทางการศึกษาต้องคำนึงถึงและนำมาพิจารณาให้เป็นรูปธรรมคือ การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการสร้างความเป็นคนที่เข้าใจกันและเมตต่านั้นต้องเกิดจากการพัฒนากรอบการดำเนินงานอย่างมีแบบแผน มิใช่เพียงเพื่อได้กระทำ แต่ต้องเป็นการกระทำผ่านการพิจารณาถึงมาตรฐานการศึกษา และสร้างความเป็นไปได้ที่มีคุณค่าแท้จริงด้วย มิฉะนั้นนโยบายที่กำหนดมานั้นมีปัญหาเมื่อนำไปปฏิบัติ ขาดคุณค่าตามเจตนาการศึกษาของประเทศ
อะไรคือการเรียนร่วม
การเรียนร่วมเป็นนโบายการศึกษาที่กำเนิดในช่วงของการปฏิรูปการศึกษา แล้วมีการผันตัวอย่างรวดเร็วโดยล้อตามการเปลี่ยนแปลงของประเทศพัฒนา การเรียนร่วมเป็นนโยบายทางสังคม เป็นกระบวนการที่จัดขึ้นสำหรับเด็กพิการรายบุคคล โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรอืพิการได้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษา นันทนาการและสังคมกับเด็กปกติในสังคมทั่วไป ซึ่งการเรียนร่วมทางการศึกษาปฐมวัยเน้นเจาะจงเฉพาะการให้เด็กที่บกพร่องและเด็กปกติได้ทำงานและเล่นด้วยกันในชั้นเรียนด้วยกัน (Williams and Fromberg. 1992 : 324) การเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติและบรรยากาศปกติใช้คำว่า Mainstreaming แต่มีลักษณะของเด็กที่เข้าเรียนร่วมหลายลักษณะ การจัดการเรียนร่วมจึงมีการใช้คำหลากหลายความหมายกล่าวคือ การเรียนร่วมที่ใช้คำว่า Mainstreaming หมายถึงการให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กพิการเด็กปัญญาอ่อน เข้ามาเรียนในชั้นเรียนปกติตามกระบวนการเรียนการสอน หลักสูตรและชั้นเรียนที่เด็กปกติทั่วไปเรียน เพื่อให้เด็กที่เข้ามาเรียนร่วมได้เรียนรู้สังคมและการศึกษาเพื่อปรับตัวได้ ไม่มีการปรับการจัดการศึกษาสิ่งใดเป็นพิเศษ ส่วนการเรียนร่วมที่ใช้คำว่า Inclusion และ Integration หมายถึงการเรียนร่วมเช่นกันแต่แตกต่างที่ประเภทเด็กที่เข้าเรียนและลักษณะการเรียนดังนี้ (Morrison, 2000 : 320-325)
การเรียนร่วมของเด็กพิการ (Inclusion) หมายถึง การศึกษาที่เปิดโอกาสให้เด็กพิการเข้ามามีส่วนร่วมเรียนกับเด็กปกติทั่วไปในชั้นเรียนปกติ โดยเข้าเรียนเต็มเวลาหรือเข้ามาเรียนบางเวลา จุดประสงค์เพื่อให้เด็กพิการได้เรียนรู้สังคมและธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของคนปกติทั่วไป 

การเรียนร่วมของเด็กพัฒนาการช้า (Integration) เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีพัฒนาการอยู่ในระดับเกณฑ์เฉลี่ยของปกติหรือต่ำกว่าเล็กน้อย ที่สามารถเข้ามาเรียนร่วมในชั้นปกติเต็มเวลาหรือบางเวลาบางเรื่องได้ จุดประสงค์เพื่อให้เรียนรู้การปรับตัวเข้าสู่สังคมปกติ 

จากลักษณะของการเรียนดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการเรียนร่วมคือการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการเข้าเรียนในกระบวนการเรียนการสอนตามปกติของเด็กทั่วไป โดยให้ทำกิจกรรมตามปกติในชั้นเรียน ไม่มีบริการพิเศษ ยกเว้นเด็กบางรายที่จำเป็นอาจต้องเข้าโปรแกรมพิเศษเพาะ เช่น การฝึกพูด หรือเด็กที่มีปัญหามากอาจเข้ามาเรียนร่วมกับเกปกติในบางเวลา บางกิจกรรมได้โดยใช้กระบวนการแบบธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่เป็นปกติทั่วไป
การเรียนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือเด็กพิการเข้ามาเรียนในชั้นเรียนกับเด็กปกติ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือเด็กพิการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาและปรับตนเองให้สามารถอยู่กับสังคมปกติได้ สาเหตุเนื่องมาจากแต่เดิมนั้นเชื่อว่าชั้นเรียนที่ดีที่สุดสำหรับเด็กพิการคือการศึกษาพิเศษ ซึ่งพบว่าไม่จริงเพราะปรากฏว่าเด็กที่มีปัญหาแต่ถูกทิ้งให้ต่อสู้ตามธรรมชาติแล้วปรับตัวเองได้ดีกว่า และสามารถดำเนินชีวิตได้ดีกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศผู้นำเด็กปัญญาอ่อน จึงคิดหารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีปัญหาใหม่ โดยเน้นให้เด็กสามารถบูรณาการการเรียนรู้สังคมและวิชาการให้กับเด็กมีปัญหาเช่น เด็กปัญหาอ่อน
จากแนวคิดนี้นักการศึกษาสหรัฐอเมริกาจึงเสนอให้มีการเรียนการสอนเด็กปัญญาอ่อนในชั้นเรียนปกติ โดยออกเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ในปี ค.ศ. 1975 กำหนดว่าการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิการต้องมีข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดนโยบายการศึกษานี้ให้เรียกว่า "การเรียนร่วมหรือ mainstreaming" ซึ่งหมายความว่าเด็กปัญญาอ่อนสามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติได้มิใช่เพื่อล าการปัญญาอ่อนแต่เชื่อว่าจะทำให้เด็กที่มีสติปัญญาต่ำหรือปัญาญาอ่อนสามารถปรับพฤติกรรมและปรับปรุงการดำรงชีวิตตนเองได้ดีกว่าการเรียนแต่ในกลุ่มของตนเอง (Roediger III, el. 1984 : 375 - 376) โรงเรียนและศูนย์เด็กที่เปิดการเรียนร่วมจะได้รับเงินกองทุนสนับสนุนจากรัฐบาล การจัดการเรียนการสอนนี้ห้ามแยกขั้นเรียนเฉพาะเด็ดขาด เว้นเสียแต่ว่าเด็กพิการนั้นมีความรุนแรงจนไม่สามารถจัดการบริการตามปกติได้ เพื่อป้องกันปัญหานี้เด็กผิดปกติทุกคนที่จะเข้าโรงเรียนได้ ต้องได้รับการประเมินภาพเพื่อวินิจฉัยการเข้าเรียนก่อนว่ามีความสามารถระดับใด ถ้าเขาสามารถเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนปกติได้จะเชิญให้ผู้ปกครองเข้ามาร่วมมือกับครูในการวางแผนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล (Individual Education Plan IEP) ในชั้นเรียนนั้น ๆ (Williams and Fromberg, 1992 : 325) ซึ่งต่อมาระยะหลังการจัดการเรียนร่วมได้เอื้อไปถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กมีความพิการหรือเด็กมีปัญหาอื่นด้วย สำหรับประเทศไทยการจัดการศึกษาแบบการเรียนร่วมได้กำหนดเป็นเพียงนโยบาย ส่วนการดำเนินการในทางปฏิบัติขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละหน่วยงานหรือโรงเรียน
จุดประสงค์ของการเรียนร่วม
ปัจจุบันสังคมไทยค่อนข้างคุ้นเคยกับการเรียนร่วมของเด็กมีปัญหาหรือเด็กพิการในชั้นเรียนปกติ และยอมรับมากขึ้น จุดประสงค์ของการเรียนร่วมเพื่อให้เด็กปฐมวัยที่บกพร่องซึ่งอาจมีปัญหาสุขภาพหรือความต้องการพิเศษหรือพิการได้รับประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสม โดยได้สัมผัสกับเด็กที่มีพัฒนาการตามปกติ เด็กปกติจะเป็นตัวอย่างการเรียนรู้ ทักษะพัฒนาการให้กับเด็กบกพร่องที่สามารถช่วยให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถพัฒนาตนเองได้ ในขณะเดียวกันเด็กปกติสามารถเรียนรู้ ยอมรับ เห็นคุณค่า และเข้าใจถึงความแตกต่างของคนด้วย (Williams and Fromberg, 1992 : 324-325) สิ่งที่เด็กพิการหรือมีความต้องการพิเศษจะได้จากการเรียนร่วมคือ
1. เรียนรู้สังคม และปรับตัวให้เข้ากับสังคมปกติได้อย่างมีความสุขและไม่เป็นปัญหาสังคมในอนาคต 

2. สังคมและธรรมชาติการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติจะเป็นตัวกระตุ้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือพิการให้ฟื้นค้นสภาพได้มากที่สุด เด็กที่เข้าเรียนร่วมจะเกิดการรับรู้ มีการปรับตัวระหว่างการเรียนร่วม ภาวะนี้เรียกว่าสังคมบำบัด 

3. ผลข้างเคียงที่ได้ตามมาคือเด็กปกติได้เรียนรู้และเข้าใจผู้ร่วมสังคมที่พิการ หรือมีความต้องการพิเศษได้ 

ประเภทของการเรียนร่วม
ดังกล่าวแล้วว่าการเรียนร่วมเป็นการเปิดโอกาสการศึกษาให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กพิการหรือมีปัญหาทางสติปัญญาได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนปกติและบรรยากาศปกติกับเด็กปกติ โดยเด็กที่เข้ามาเรียนร่วม ได้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กพิการ เด็กปัญญาอ่อน เด็กออทิสติก รวมทั้งเด็กมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งต่อไปนี้จะใช้คำว่าเด็กเรียนร่วมแทนความหมายถึงลักษณะของเด็กดังกล่าว
ปัญหาของการเรียนร่วมที่สำคัญอยู่ที่ระดับความรุนแรงของปัญหาของเด็กเรียนร่วมซึ่งมีผลต่อการรับเข้าเรียน การดูแลและการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น ปัญญาอ่อนสามารถจำแนกได้เป็น 4 ระดับ (Salkind et. Al, 1987) คือ
ปัญญาอ่อนเล็กน้อย 

ปัญญาอ่อนปานกลาง 

ปัญญาอ่อนรุนแรง 

ปัญญาอ่อนรุนแรงมาก 

ปัญญาอ่อนแต่ละระดับดังกล่าวมีความต้องการดูแลมากน้อยต่างกัน ซึ่งทำให้การจัดการเรียนร่วมแตกต่างกัน เด็กปัญญาอ่อนรุนแรงไม่สามารถอยู่ในห้องเรียนปกติได้เพราะต้องใช้ครูดูแลอย่างเฉพาะตามปัญหาของเด็กเด็กปัญญาอ่อนอาจเข้าร่วมเรียนได้ในบางเวลาตามปัญหาเด็กเรียนร่วมดังกล่าวทำให้จำแนกการเรียนร่วมเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การเรียนร่วมเต็มเวลา หมายถึงการจัดการศึกษาสำหรับเกที่เรียนร่วมเข้าเรียนในกระบวนการเรียนการสอนปกติในชั้นเรียนปกติ และเวลาปกติ จำแนกชั้นเรียนเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ชั้นเรียนปกติและการเรียนการสอนปกติ ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหาน้อยมีความสามารถในการเรียนและพร้อมในการเรียนทั้งวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม ตัวอย่าง เช่น เด็กปัญญาอ่อนเล็กน้อย เป็นต้น 

2. ชั้นเรียนปกติแต่มีครูการศึกษาพิเศษเป็นที่ปรึกษา ชั้นเรียนแบบนี้ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีความพร้อมในการเรียนกับเด็กปกติ แต่มีปัญหาเฉพาะที่ต้องการพัฒนาเป็นพิเศษ ซึ่งครูปกติต้องได้รับความช่วยเหลือจากครูการศึกษาพิเศษมาช่วยในชั้นเรียนเป็นที่ปรึกษา หรือให้บริการเป็นบางเรื่อง บางกรณี เช่น การฝึกพูดสำหรับเด็กออทิสติก เป็นต้น

2. การเรียนร่วมบางเวลา ดังกล่าวแล้วว่าเด็กเรียนร่วมนอกจากมีปัญหาที่แตกต่างกันแล้วระดับความรุนแรงของปัญหายังแตกต่างด้วยทำให้การจัดการศฯกษาสำหรับเด็กเรียนร่วมบางครั้งไม่สามารถจัดให้เด็กเรียนร่วมเข้าเรียนเต็มเวลาได้ เด็กเรียนร่วมจะเข้ามาเรียนร่วมบางเวลาดังนี้

1. เข้าเรียนในชั้นเรียนปกติบางชั่วโมงหรือบางกิจกรรม วิชาที่เด็กเรียนร่วมเข้าเรียนจะเป็นรายวิชาที่เนื้อหาไม่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสังคม เช่น พลศึกษา ศิลปะหรือกิจกรรมนอกหลักสูตร หรือในกรณีที่เด็กเรียนร่วมยังมีปัญหาการปรับตัว การเข้าเรียนจะต้องจัดเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อให้เด็กเรียนร่วมได้ปรับตัวได้และไม่มีปัญหาการควบคุมชั้นเรียน 

2. ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติการจัดการเรียนการสอนแบบนี้เป็นการจัดชั้นเรียนพิเศษเฉพาะเด็กเรียนร่วม ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหารุนแรง หรือต้องการการดูแลพิเศษเด็กเรียนร่วมจะถูกแยกห้องเรียน ไม่ปะปนกับเด็กปกติ แต่ชั้นเรียนนั้นยังอยู่ในโรงเรียนปกติมีครูการศึกษาพิเศษประจำ เด็กจะไม่ออกมาเรียนร่วมกับเด็กปกติ แต่เรียนในห้องเรียนตัวเองอย่างน้อยได้สัมผัสบรรยากาศของโรงเรียนปกติ การจัดชั้นเรียนแบบนี้เชื่อว่าดีกว่าการจัดชั้นเรียนแบบแยกเอกเทศ ไม่อยู่โรงเรียนเด็กพิเศษตามแบบเดิม ทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้สภาพสังคมจริง และเด็กปรับตัวได้ยากเพราะไม่เคยเห็นสังคมปกติ ซึ่งอย่างน้อยการมีห้องเรียนอยู่ในโรงเรียนปกติยังสร้างการเรียนรู้สังคมได้ 

การจัดชั้นเรียนสำหรับเด็กเรียนร่วม
ห้องเรียนเป็นบริบทของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของความเป็นเพื่อนที่สำคัญของเด็กเด็กจะเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อน รู้จักการปรับตัวรู้จักให้ รู้จักตนเอง และรู้จักผู้อื่น แม้แต่เด็กปฐมวัยก็สามารถแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เช่น การให้ตุ๊กตากัน ความสัมพันธ์อาจขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของเด็ก เป็นหน้าที่ของครูและผู้ปกติที่ต้องช่วยสร้างเด็กให้รู้จักมิตรภาพสามารถเข้ากลุ่มเพื่อนได้และแก้ปัญหาได้เป็นสำคัญ (Williams and Fromberg, 1992 : 262) การจัดห้องเรียนจึงมีความสำคัญสำหรับการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการมาเรียนร่วมกับเพื่อนปกติ
สิ่งหนึ่งที่ต้องการพิจารณาถึงการจัดห้องเรียนร่วมคือเด็กเรียนร่วมทุกคน มิได้หมายความว่าจะเข้าชั้นเรียนปกติได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับระดับความพิการ วุฒิภาวะ ความพร้อมทางอารมณ์และสังคมของเด็ก ถ้าเด็กพิการน้อยความพร้อมสูงก็จะสามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนกับเด็กปกติได้ ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีปัญหาทางปัญหากลุ่มปัญญาอ่อน เด็กที่จะเข้าเรียนปกติได้ต้องเป็นเด็กที่มี IQ ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย เป็นกลุ่มปัญญาอ่อนน้อย ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายอ่อนรุนแรงที่ต้องดูแลพิเศษ เป็นต้น การจัดากรเรียนร่วมที่มีประสิทธิภาพห้องเรียนนั้นต้องสอดคล้องกับศักยภาพของเด็กเรียนร่วม และเด็กในชั้นเรียนปกติ เพื่อป้องกันอาการเครียดที่เกิดจากความไม่พร้อมของเด็ก เมื่อต้องการสร้างเสริมความสามารถของเด็กเรียนร่วม และประโยชน์ที่เด็กพึงได้รับการคัดเลือกเด็กเข้าชั้นเรียนและจัดชั้นเรียนมีความหมายมาก
ปรัชญาของการเรียนร่วมมุ่งถึงบรรยากาศทางสังคม และสิ่งแวดล้อมปกติที่เด็กเรียนร่วมต้องเรียนรู้ ซึ่งถ้าเหมาะสมกับเด็ก เด็กจะได้ประโยชน์มากทั้งเด็กปกติและเด็กเรียนร่วม ผลที่ตามมาคือความง่ายสำหรับครูในการจัดชั้นเรียนให้สอดคล้องกับลักษณะเด็ก ประโยชน์ทางการศึกษาและปรัชญาการเรียนร่วม เราสามารถจัดชั้นเรียกออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะที่ 1 ห้องเรียนปกติ เป็นชั้นเรียนที่ไม่ต้องมีการปรับหรือเปลี่ยนสิ่งใดเป็นพิเศษ เด็กเรียนร่วมสามารถเข้าเรียนได้เหมือนเด็กปกติ แต่เด็กเรียนร่วมที่จะเข้าชั้นเรียนปกติได้นี้ต้องมีปัญหาความต้องการพิเศษน้อยมากและพร้อมยอมรับกระบวนการเรียนตามปกติของชั้นเรียนได้
ลักษณะที่ 2 ห้องเรียนบำบัด เปิดสอนโดยมีชั่วโมงพิเศษ ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหาเฉพาะที่ต้องได้รับการฝึกบางอย่างเป็นพิเศษ เด็กเรียนร่วมกลุ่มนี้จะมีชั่วโมงและวิชาแยกไปเรียนพิเศษเพื่อฝึกและเรียนเฉพาะเช่น ห้องวจีบำบัดใช้สำหรับการสอนภาษาให้แก่เด็กเรียนร่วม เป็นต้น
ลักษณะที่ 3 ห้องเรียนพิเศษ เป็นห้องเรียนเฉพาะที่จัดสำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหามาก ต้องการครูการศึกษาพิเศษ และบรรยากาศการเรียนเฉพาะ เด็กห้องเรียนพิเศษรวมถึงเด็กเรียนร่วมที่สามารถออกมาเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กปกติได้ในบางกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้สังคมปกติ

ชุดการสอน


ชุดการสอน
(Instructional Package)


ชุดการสอน
เป็นสื่อการสอนที่เป็นชุดของสื่อประสม (Multi-media) ที่จัดขึ้นสำหรับหน่วยการเรียนตามหัวข้อเนื้อหา
และประสบการณ์ของแต่ละหน่วยที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้รับ โดยจัดไว้เป็นชุด ๆ
บรรจุในซอง กล่อง หรือกระเป๋า แล้วแต่ผู้สร้างจะทำขึ้น

ในการสร้างชุดการสอนนี้จะใช้วิธีระบบเป็นหลักสำคัญด้วยจึงทำให้มั่นใจได้ว่า
ชุดการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ผู้สอน
เกิดความมั่นใจพร้อมที่จะสอนอีกด้วย


แนวคิดและหลักการของชุดการสอน

การประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคลความพยายามที่จะเปลี่ยนแนวการเรียนการสอน
จากการยึดครูเป็นหลักมาเป็นจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนเอง
เปลี่ยนจากการใช้สื่อเพื่อช่วยครูสอน มาเป็นใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยผู้เรียนเรียนยึดทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม
มาใช้ในการจัดระบบการผลิตสื่อในรูปของ ชุดการสอน ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนมาใช้
ประเภทของชุดการเรียนการสอน

1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย
2. ชุดการสอนแบบกลุ่มกิจกรรม
3. ชุดการสอนแบบรายบุคคลหรือชุดการสอนตามเอกัตภาพ
องค์ประกอบของชุดการสอน

1. คู่มือครู บัตรคำสั่งหรือคำแนะนำ
2. เนื้อหาสาระและสื่อ
3. แบบประเมินผล

ขั้นตอนในการผลิตชุดการสอน

1.  กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์
2.  กำหนดหน่วยการสอน
3.  กำหนดหัวเรื่อง
4.  กำหนดความคิดรวบยอดและหลักการ
5.  กำหนดวัตถุประสงค์
6.  กำหนดกิจกรรมการเรียน
7.  กำหนดแบบประเมินผล
8.  เลือกและผลิตสื่อการสอน
9.  หาประสิทธิภาพชุดการสอน
10.การใช้ชุดการสอน

ส่วนประกอบและการเขียนคู่มือครู

1.  คำนำ
2.  ส่วนประกอบของชุดการสอน
3.  คำชี้แจงสำหรับผู้สอน
4.  สิ่งที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องเตรียม
5.  บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
6.  การจัดห้องเรียน
7.  แผนการสอน
8.  เนื้อหาสาระของชุดการสอน
9.  แบบฝึกหัดปฏิบัติหรือกระดาษตอบคำถาม
10.แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
หลักในการเขียนแบบฝึกปฏิบัติหรือคู่มือนักเรียน  

1. มีคำชี้แจงในการใช้แบบฝึกปฏิบัติ
2. มีตารางปฏิบัติงานที่ผู้เรียนจะวางแผนไว้เอง
3. ควรมีแผนการสอนโดยสังเขป
4. เตรียมเนื้อหากับกิจกรรมให้ตรงกัน โดยใช้หมายเลขหรือรหัส
5. ออกแบบให้สะดุดตาน่าอ่าน
6. เนื้อหาในแบบฝึกปฏิบัติควรให้ตรงกับเนื้อหา


ประโยชน์ของชุดการสอน
1. ส่งเสริมการเรียนแบบรายบุคล
2. ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนครู
3. ช่วยในการศึกษานอกระบบโรงเรียน
4. ลดภาระและสร้างความมั่นใจให้กับครู
5. เป็นประโยชน์ในการสอนแบบศูนย์การเรียน
6. ช่วยให้สามารถวัดผลได้ตามความมุ่งหมาย
7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
8. ช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้แนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
9. ช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเคารพ นับถือ ความคิดเห็นของผู้อื่น


ดูรายละเอียดได้ที่..
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.

http://senarak.tripod.com/package2.htm

บทเรียนโมดูล


(Instructional Module)





บทเรียนโมดูลหรือหน่วยการเรียนจัดเป็นกลุ่มประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมาย
โมดูลอาจจะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น สไลด์ ภาพ การทดลอง หนังสือหรือเอกสาร
ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละสาขาวิชา

บทเรียนโมดูล
เป็นสื่อการเรียนชนิดหนึ่งที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียน
ได้เกิดความรู้ตามความต้องการ โดยที่บทเรียนนั้นจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างแน่นอน
มีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน
มีการประเมินผลก่อนและหลังเรียน มีการทดสอบย่อยในทุก ๆหน่วยของโมดูล
และการเรียนซ่อมเสริมด้วยกระบวนการเรียนการสอนจะเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าผู้สอน


คุณสมบัติที่สำคัญของบทเรียนโมดูล

1. โปรแกรมทั้งหมดถูกขยายเป็นส่วน ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน
    และสามารถมองเห็นโครงร่างทั้งหมดของโปรแกรม
2. ยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดระบบการเรียนการสอน
3. มีจุดประสงค์ในการเรียนที่ชัดเจน
4. เน้นการเรียนด้วยตนเอง
5. ใช้วิธีการสอนแบบต่าง ๆ ไว้หลายอย่าง
6. เน้นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) เข้ามาใช้ในการสร้าง

องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล 
1. หลักการและเหตุผล (Prospectus)
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
3. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Assessment)
4. กิจกรรมการเรียน (Enabling Activities)
5. การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment)

แบบแผนของบทเรียนโมดูล
ชื่อเรื่อง (A Title Page)
ขั้นตอนของกระบวนการเรียน (The Body of the Description)
มีลำดับขั้น ดังนี้

1. หลักการและเหตุผล
2. จุดประสงค์
3. ความรู้พื้นฐาน
4. การประเมินผลก่อนเรียน
5. กิจกรรมการเรียน
6. การประเมินผลหลังเรียน
7. การเรียนซ่อมเสริม
8. ภาคผนวก (Appendix)

ขั้นตอนในการสร้างบทเรียนโมดูล1. การวางแผน
2. การสร้าง
3. การทดสอบต้นแบบ
4. ประเมินผลบทเรียน

ประโยชน์ของบทเรียนโมดูล

เป็นบทเรียนสำเร็จรูป
เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มีระเบียบแบบแผนและรวมการสอนหลาย ๆ อย่าง
เอาไว้ด้วยกัน
ช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความสามารถและความก้าวหน้าของตนทุกระยะ
ช่วยลดภาระของครูในการสอนข้อเท็จจริงต่าง ๆ

ดูรายละเอียดได้ที่.. 
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing. 

เครื่องสอน

   เครื่องสอน(Teaching Machine)


เครื่องสอน (Teaching Machine)
ความหมาย :

เป็นเครื่องมือที่ใช้กับบทเรียนโปรแกรม โดยอาศัยกลไกตั้งแต่แบบง่าย ๆ
 ราคาถูกไปจนถึงเครื่องกลไกชั้นสูง คอมพิวเตอร์ราคาแพง
ในการเสนอบทเรียนให้แก่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละคน

ลักษณะของเครื่องสอน
โปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบต่อก้าน อาจอยู่ในแผ่นกระดาษม้วนหรือแผ่นอาซีเตทก็ได้
ตัวเครื่องอาจเป็นซองกระดาษ กล่องไม้ หรือกล่องเหล็ก มีช่องหน้าต่างสำหรับผู้เรียน
กรอกคำตอบหรือมีปุ่มให้เลือกตอบ แล้วแต่ชนิดของเครื่องสอน

ประเภทของเครื่องสอน

1. เครื่องสอนจำพวกที่ผู้เรียนสร้างคำตอบเอง
2. เครื่องสอนจำพวกใช้ฝึก
3. เครื่องสอนจำพวกสร้างคำตอบด้วยกลไก
4. เครื่องสอนจำพวกเลือกคำตอบแบบเชิงเส้น
5.เครื่องสอนสำหรับบทเรียนโปรแกรมแบบสาขา
6. เครื่องสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก

ข้อดีของเครื่องสอน

- ป้องกันการทุจริตของผู้เรียน
- ใช้สอนผู้อ่านหนังสือไม่ออกได้
- บันทึกข้อที่ผู้เรียนผิดพลาดได้ สะดวกแก่การนำมาปรับปรุงแก้ไข
- ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
- ทำหน้าที่ในการสอนรายบุคคลได้ดีกว่าครู
- ไม่ดุหรือทำโทษนักเรียน
- ตัวบทเรียนราคาถูกกว่าหนังสือ
- ใช้ร่วมกับสื่ออื่น ๆ ได้
- ใช้ได้หลายครั้ง สิ้นเปลืองน้อยกว่าบทเรียนโปรแกรมในลักษณะของตำราเครื่องสอน
   (Teaching Machine)
- เป็นเครื่องมือที่ใช้กับบทเรียนโปรแกรม โดยอาศัยกลไกตั้งแต่แบบง่าย ๆ
   ราคาถูกไปจนถึงเครื่องกลไกชั้นสูง คอมพิวเตอร์ราคาแพง ในการเสนอบทเรียนให้แก่ผู้เรียน
   สามารถเรียบนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละคน

ดูรายละเอียดได้ที่..
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.

http://senarak.tripod.com/helpmach.htm

บทเรียนโปรแกรม

 

บทเรียนโปรแกรม


หลักการของบทเรียนโปรแกรม
1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉง (Active Participation)
    การที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมยิ่งมาก ยิ่งส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
2. ให้ทราบผลการเรียนของตนเองอย่างทันทีทันใด (Immediated Feed Back)
    เป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที ว่าสิ่งที่ผู้เรียนทำนั้นถูกหรือผิด
3. ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ (Sucess Experience)
     เมื่อเรียนจบแต่ละขั้นตอนที่สำคัญ ครูควรให้การเสริมแรง (Reinfocement) แก่ผู้เรียน
    เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้สึกภูมิใจ และต้องการเรียนต่อไป
4. การประมาณทีละน้อย (Gradual Approximation) เป็นการจัดลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
    ให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน ไม่ให้ถี่หรือห่างเกินไป
ประเภทของการสอนแบบโปรแกรม
1. การสอนแบบโปรแกรมในฐานะวิธีการ เป็นการสอนที่ใช้วิธีการอย่างเดียวและใช้สื่อ
    เพียง 1-2 อย่าง
2. การสอนแบบโปรแกมในฐานะกระบวนการ เป็นการสอนที่ใช้วิธีการหลายอย่าง
    และใช้สื่อประสม คือใช้สื่อตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไปร่วมกัน สื่อแต่ละอย่างจะส่งเสริม
    ซึ่งกันและกัน


สรุป..
การสอนแบบโปรแกรม เป็นวิธีการสอนที่มีหลักการเพื่อเอื้อให้เกิด
การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาจจะนำไปใช้เป็นหลักการ
ในการสอนวิธีต่างๆ ได้ เช่น การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบสาธิต
หรือการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น 

ดูรายละเอียดได้ที่..
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน





คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
หมายถึง วิถีทางของการสอนรายบุคคลโดยอาศัยความสามารถของ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการ
แสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกันด้วยบทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่าง
เหมาะสม

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. บทเรียน (Tutorial) 
เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียนโปรแกรม
ที่เสนอเนื้อหาความรู้เป็นส่วนย่อย ๆเลียนแบบการสอนของครู

2. ฝึกทักษะและปฏิบัติ (Drill and Practice)
ส่วนใหญ่ใช้เสริมการสอน ลักษณะที่นิยมกันมากคือ การจับคู่ ถูก-ผิด
เลือกข้อถูกจากตัวเลือก

3. จำลองแบบ (Simulation)
นิยมใช้กับบทเรียนที่ไม่สามารถทำให้เห็นจริงได้

4. เกมทางการศึกษา (Educational Game)

5. การสาธิต (Demonstration)
นิยมใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

6. การทดสอบ (Testing)
เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

7.  การไต่ถาม (Inquiry) 
ใช้เพื่อการค้นหาข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด

8. การแก้ปัญหา (Problem Solving) 
เน้นการให้ฝึกการคิดการตัดสินใจ
9. แบบรวมวิธีต่าง ๆ เข้าด้วย (Combination)
ประยุกต์เอาวิธีสอนหลายแบบมารวมกันตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ















ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามเอกัตภาพ
2.ผู้เรียนมีโอกาสเรียนซ้ำได้หลายครั้งเท่าที่ต้องการ
3.ผู้เรียนมีโอกาสโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์และสามารถควบคุมการเรียนได้เอง
4.มีภาพ ภาพเคลื่อนไหว สี เสียง ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายการเรียน
5.ตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
6.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามขั้นตอนจากง่ายไปยาก
หรือเลือกบทเรียนได้
7.ฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล

ลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการเรียนการสอนแบบรายบุคคล
ที่นำเอาหลักการของบทเรียนโปรแกรมและเครื่องช่วยสอน
มาผสมผสานกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตอบสนองในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
ของผู้เรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเป็นรายบุคคล

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะการเรียนที่เป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นการเสนอเนื้อหา
3.ขั้นคำถามและคำตอบ
4.ขั้นการตรวจคำตอบ
5.ขั้นของการปิดบทเรียน

ลักษณะของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี มีดังนี้

1.  สร้างขึ้นตามจุดประสงค์ของการสอน
2.  เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
3.  มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนให้มากที่สุด
4.  มีลักษณะเป็นการสอนรายบุคคล
5.  คำนึงถึงความสนใจของผู้เรียน
6.  สร้างความรู้สึกในทางบวกกับผู้เรียน
7.  จัดทำบทเรียนให้สามารถแสดงผลย้อนกลับไปยังผู้เรียนให้มาก ๆ
8.  เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน
9.  มีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนอย่างเหมาะสม
10.ใช้สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงข้อจำกัด
บางอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บนพื้นฐานของการออกแบบ
การสอนคล้ายกับการผลิตสื่อชนิดอื่น ๆควรมีการประเมินผลทุกแง่ทุกมุม 


ดูรายละเอียดได้ที่..

บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.

การสอนแบบโปรแกรม

  การสอนแบบโปรแกรม 
PROGRAMMED INSTRUCTION


ความหมาย :
"การจัดลำดับประสบการณ์ไว้สำหรับผู้เรียน
ไปสู่ขีดความสามารถโดยอาศัยหลักความสัมพันธ์
ของสิ่งเร้ากับการตอบสนองซึ่งพิสูจน์แล้วว่า
มีประสิทธิภาพ " 
(รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท)

"เป็นการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า
ที่จะให้ผู้เรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการลงมือประกอบกิจกรรม
อย่างกระฉับกระเฉง ทราบข้อติชมทันที
มีความภูมิใจในความสำเร็จ และได้ใคร่ครวญตาม
ทีละน้อยตามลำดับขั้นและก้าวไปข้างหน้าด้วยความสามารถ
ความสนใจและความสะดวกของแต่ละคน"

(รศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์)

หลักการของบทเรียนโปรแกรม

1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉง (Active Participation)
    การที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมยิ่งมาก ยิ่งส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
2. ให้ทราบผลการเรียนของตนเองอย่างทันทีทันใด (Immediated Feed Back)
    เป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที ว่าสิ่งที่ผู้เรียนทำนั้นถูกหรือผิด
3. ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ (Success Experience)
     เมื่อเรียนจบแต่ละขั้นตอนที่สำคัญ ครูควรให้การเสริมแรง (Reinforcement) แก่ผู้เรียน
    เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้สึกภูมิใจ และต้องการเรียนต่อไป
4. การประมาณทีละน้อย (Gradual Approximation) เป็นการจัดลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
    ให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน ไม่ให้ถี่หรือห่างเกินไป

ระเภทของการสอนแบบโปรแกรม
1. การสอนแบบโปรแกรมในฐานะวิธีการ เป็นการสอนที่ใช้วิธีการอย่างเดียวและใช้สื่อ
    เพียง 1-2 อย่าง
2. การสอนแบบโปรแกมในฐานะกระบวนการ เป็นการสอนที่ใช้วิธีการหลายอย่าง
    และใช้สื่อประสม คือใช้สื่อตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไปร่วมกัน สื่อแต่ละอย่างจะส่งเสริม
    ซึ่งกันและกัน


สรุป..
การสอนแบบโปรแกรม เป็นวิธีการสอนที่มีหลักการเพื่อเอื้อให้เกิด
การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาจจะนำไปใช้เป็นหลักการ
ในการสอนวิธีต่างๆ ได้ เช่น การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบสาธิต
หรือการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น
 

ดูรายละเอียดได้ที่..
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.

วิธีระบบ


วิธีระบบ
 ( System Approach)
 

ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์
ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น

ระบบ
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ

1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
    องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ



วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
และสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบ
ที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ

ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา
     อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน



องค์ประกอบของระบบ
 ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ



1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input )
    หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น 
    ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร
    ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม
    อากาศ เป็นต้น

2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process)
     หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
     เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น

3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output)
    หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
    หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น

    ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
    การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back)
    จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น




การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ
หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบ
จึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้
มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
 1. ปัญหา (Identify Problem)
 2.จุดมุ่งหมาย (Objectives)
3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)
4. ทางเลือก (Alternatives)
5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection)
6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation)
7. การประเมินผล (Evaluation)
8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification)


ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา
        ที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด
        มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึง
        ความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว
        และต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวาง
        และเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น
        การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงาน
        ให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้
        ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด
        ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7
        ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์
        หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ
        หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป

ลักษณะของระบบที่ดี 
ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( efficiency)
และมีความยั่งยืน (sustainable) ต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ

1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
4. มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )

ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบ ๆตัว ของระบบ
โลกรอบ ๆตัวนี้ เรียกว่า "สิ่งแวดล้อม" การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เอง
ทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็น ระบบเปิด ( Open system ) กล่าวคือ
ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs ) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯ
ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต ( output )
แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกที่หนึ่ง มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น
ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่างชัดเจนว่า
 "เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ได้ให้ดีที่สุด"
จุดหม่งุหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบดังกล่าวขึ้นมาเอง
มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)

ลักษณะที่สามของระบบ คือ การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวเองให้อยู่ในลักษณะที่คงที่อยู่เสมอ
การรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและเอาท์พุดกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
ของระบบหรือระบบย่อย ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์
ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ หรือระบบย่อยต่างๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอก อาหาร
กระเพาะอาหาร ฯลฯ

มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )
ลักษณะที่ดีของระบบ คือ มีการแก้ไขและปรับตัวเอง
ในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้น
ก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเอง ต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเองเสียใหม่
ตัวอย่างเช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม)
อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้ ในสถานการณ์นี้ ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถ
ที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี ร่างานก็จะต้องสามารถที่จะปรับตัวเองเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้น
โดยการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัด

ระบบเปิดและระบบปิด
  ระบบเปิด ( Open System ) 
     คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต
     กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างระบบเปิดทั่ว ๆ ไป เช่น
     ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ

   ระบบปิด ( Close System ) 
     คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
     แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิดเอาท์พุทให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ระบบของถ่านไฟฉาย
     หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัว
     ภายในก็มีระบบย่อยอีกหลายระบบ ที่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี นสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้
     โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยภายนอกเข้ามาเลย ระบบปิดจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด
     เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น "ผู้ให้" เท่านั้น 



วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอน

ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. การประเมินความจำเป็น
  2. การเลือกทางแก้ปัญหา
  3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน
  4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย
  5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน
  6. การลำดับขั้นตอนของการสอน
  7. การเลือกสื่อ
  8. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น
  9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น
10. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ
11. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก

ระบบการเรียนการสอน
ระบบการเรียนการสอน ก็คือ การจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กัน
เพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน 
ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ต่าง ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันและกัน ส่วนที่สำคัญคือ
กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียน
ยูเนสโก ( UNESCO ) ได้เสนอรูปแบบขององค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้
โดยมีองค์ประกอบ 6 ส่วน คือ

1. องค์ประกอบของการสอนจะประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สื่อ การเรียนการสอน
   วิธีสอนซึ่งทำงานประสานสัมพันธ์กัน อันจะเป็นพาหะหรือแนวทางผสมกลมกลืนกับเนื้อหาวิชา
2. กิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนและแหล่งที่มาของสื่อการเรียนการสอนเหล่านั้น
3. ผู้สอนต้องหาแนวทาง แนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
4. การเสริมกำลังใจ การจูงใจแก่ผู้เรียน นับว่ามีอิทธิพลต่อการที่จะเสริมสร้างความสนใจ
   ให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
5. การประเมินผล ผลที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประเมินทั้งระบบ
   เพื่อดูว่าผลที่ได้นั้นเป็นอย่างไร
   เป็นการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบกับประสิทธิผลของระบบ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงต่อไป
6. ผลที่ได้รับทั้งประเมิน เพื่อประเมินผลในการปรับปรุงและเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางการศึกษาว่า
   เป็นอย่างไร นอกจากนี้ บุญชม ศรีสะอาด ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน
   ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ และผลิต ดังภาพ



ตัวป้อน ( Input ) หรือ ปัจจัยนำเข้าระบบ 
คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก

ผู้สอน หรือครู 
เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการได้แก่คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เช่น ความรู้ ความสามารถ
ความรู้จำแนกเป็นความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้ในเทคนิคการสอนต่าง ความตั้งใจในการสอน ฯลฯ

ผู้เรียน
ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอน
ซึ่งจะบรรลุผลสำเร็จได้ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ เช่น
ความถนัด ความรู้พื้นฐานเดิม ความพร้อมความสนใจและความพากเพียรในการเรียน
ทักษะในการเรียนรู้ ฯลฯ

หลักสูตร
หลักสูตรเป็นองค์ประกอบหลักทีจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ

- วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- เนื้อหาสาระที่เรียน
- กิจกรรมการเรียนการสอน (รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน) และ
- การประเมินผล

สิ่งอำนวยความสะดวก อาจเรียกอีกอย่างว่า "สิ่งแวดล้อมการเรียน" เช่น
ห้องเรียน สถานที่เรียน ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ แสดงสว่าง ฯลฯ


กระบวนการ ( Process ) 
ในระบบการเรียนการสอนก็คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อน
เป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอน
อาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน
การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริม
การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้
ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน
ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด ๆ

การสร้างความพร้อมในการเรียน เมื่อเริ่มชั่วโมงเรียน โดยทั่วไปแล้ว
จะมีผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียน เช่น พูดคุยกัน คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ
ถ้าผู้สอนเริ่มบรรยายไปเรื่อยๆ อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการโดยเฉพาะในช่วงต้นชั่วโมงนั้น
จึงควรดึงความสนใจของผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนโดยเร็ว ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำถาม
ใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ช่วยเร้าความสนใจ หรือยกเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้
นักเรียนฟัง ในการสร้างความพร้อมไม่ควรใช้เวลามากเกินไป น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที
และทำทุกครั้งที่สอน เมื่อพบว่าผู้เรียนยังไม่พร้อม

การใช้เทคนิคการสอนต่างๆ ควรทำการสอนโดยใช้เทคนิค วิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ หลาย ๆวิธี
การใช้กิจกรรมเสริม วิธีสอนแต่ละวิธีหรือรูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไป
ผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเสริมกับวิธีสอน เช่น การให้ทำแบบฝึกหัด
การให้การเสริมแรง การใช้คำถามชนิดต่าง ๆ การทบทวนสรุป เป็นต้น

ผลผลิต ( Output ) 
ผลผลิต คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ
สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน
ไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีในด้าน
-พุทธิพิสัย ( Cognitive )
-จิตพิสัย ( Affective ) และ
-ทักษะพิสัย ( Psychomotor )

การติดตามผล ประเมินผล และปรับปรุง เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้สอนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆทั้งหมดในระบบ โดยพิจารณาผลผลิตว่าได้ผล
เป็นไปดังที่มุ่งหวังไว้หรือไม่มีจุดบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงบ้าง



ที่มา :

กิดานันท์ มลิทอง.(2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:ชวนพิมพ์.
ฉลอง ทับศรี. (2542). การออกแบบการเรียนการสอนวิชา การออกแบบการเรียนการสอน (423511). 
              มหาวิทยาลัยบูรพา. เอกสารการสอน
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.
http://senarak.tripod.com/system.htm