อัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
22 มิถุนายน 2552
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
22 มิถุนายน 2552
เทคนิคการนิเทศการศึกษา:การนิเทศแบบคลินิก ตามรูปแบบของโกลด์แฮมเมอร์ (Gold hammer Model)
การนิเทศแบบคลินิก ตามรูปแบบของโกลด์แฮมเมอร์ นั้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ซึ่งเป็นลำดับที่ต่อเนื่องของการนิเทศการสอน ตามรูปแบบของโกลด์แฮมเมอร์ ในขั้นตอนที่ 4 เป็นการประชุมนิเทศ มีลักษณะเด่น คือจะเปิดโอกาสให้ครูได้วิจารณ์และให้ข้อมูลป้อนกลับ เกี่ยวกับพฤติกรรมการนิเทศของผู้นิเทศการสอน ซึ่งค่อนข้างจะเป็นลักษณะพิเศษ โกลด์แฮมเมอร์ได้เสนอรูปแบบของการนิเทศที่มีความชัดเจน และมีรายละเอียดที่ค่อนข้างลึกซึ้ง ซึ่งเชื่อถือได้ว่าเป็นรูปแบบของการนิเทศแบบคลินิก ที่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน ระหว่าง “ภาคทฤษฎี” และ “ การนำไปปฏิบัติ” ใช้ในการนิเทศการ
สอน ต่อครูประจำการหรือครูฝึกสอน
สอน ต่อครูประจำการหรือครูฝึกสอน
จุดประสงค์ของการนิเทศ โกลด์แฮมเมอร์ ได้เสนอรูปแบบ (Model) ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ซึ่งเป็นลำดับที่ต่อเนื่องของการนิเทศ (Sequence of Supervision) ซึ่งความต่อเนื่องของการนิเทศนี้เมื่อรวมกันเข้าเรียกว่า วัฏจักรของการนิเทศ (Cycle of Supervision) โกลด์แฮมเมอร์ (Goldhammer ) ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของรูปแบบ เหตุผลและจุดมุ่งหมายของการนิเทศแบบคลินิกเอาไว้ ในสามประเด็นดังนี้
1.เพื่อเป็นการอธิบายจุดประสงค์ทั่วไป และหลักการและเหตุผลของแต่ละขั้นตอนจนครบ 5 ขั้นตอน
2. เพื่อเสนอเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนใน 5 ขั้นตอนทั้งหมด
3. เพื่อพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในการปฏิบัติการนิเทศในแต่ละขั้นตอน ขั้นตอนของการนิเทศแบบคลินิก ตามรูปแบบของโกลด์แฮมเมอร์ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน ( Pre-observation Conference)
ขั้นตอนที่ 2 การสังเกตการสอน (Observation)
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวิธีการ ประชุมนิเทศ(Analysis and Strategy)
ขั้นตอนที่ 4 การประชุมนิเทศ(Supervision Conference)
ขั้นตอนที่ 5 การประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ(Post Conference Analysis)
1.เพื่อเป็นการอธิบายจุดประสงค์ทั่วไป และหลักการและเหตุผลของแต่ละขั้นตอนจนครบ 5 ขั้นตอน
2. เพื่อเสนอเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนใน 5 ขั้นตอนทั้งหมด
3. เพื่อพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในการปฏิบัติการนิเทศในแต่ละขั้นตอน ขั้นตอนของการนิเทศแบบคลินิก ตามรูปแบบของโกลด์แฮมเมอร์ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน ( Pre-observation Conference)
ขั้นตอนที่ 2 การสังเกตการสอน (Observation)
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวิธีการ ประชุมนิเทศ(Analysis and Strategy)
ขั้นตอนที่ 4 การประชุมนิเทศ(Supervision Conference)
ขั้นตอนที่ 5 การประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ(Post Conference Analysis)
การนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบโกลด์แฮมเมอร์(Gold hammer Model)
ขั้นตอนที่ 1 การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน หลักสำคัญในขั้นตอนที่ 1 นี้ คือการสร้างกรอบแนวคิดและขอบข่ายของวิธีการดำเนินการนิเทศ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอน ถึงแม้ว่าหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นิเทศและผู้สอนจะมีความแตกต่างกัน โดยทั่ว ๆ ไปในเวลาลงมือปฏิบัติจริง ในขั้นตอนที่ 1 นี้ จึงมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
1.1 เป็นการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้นิเทศ ถ้าในขั้นที่ 1 นี้เกิดขึ้นตามความมุ่งหวังโดยที่ครูและผู้นิเทศ ต่างมีทัศนคติและความรู้สึกที่ดีต่อกัน เข้าใจซึ่งกันและกันแล้ว จะเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ทำให้เกิดความเข้าใจที่ช่วยทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานร่วมกันครูและผู้นิเทศต้องการความรวดเร็ว ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการสอนและบันทึกการสอนของครูที่จะทำการสอน ซึ่งผู้นิเทศจะทำการสังเกตการสอน ความเข้าใจของผู้นิเทศในบทเรียนและแผนการสอนของครูนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้ายิ่งเข้าใจมากเท่าไรก็เป็นการช่วยให้การนิเทศได้ผลดีมากขึ้นเท่านั้น ผู้นิเทศจะต้องเข้าใจถึงความในใจและความตั้งใจของครู ว่าทำไม เหตุผลอะไร ที่เตรียมแผนการสอนเช่นนั้น เพื่อที่จะเข้าใจถึงแรงจูงใจทางวิชาชีพและหลักฐานอ้างอิงอื่นๆ ที่ครูมีอยู่ ความเข้าใจในกรอบความคิดของครูเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจุดประสงค์สำคัญสองประการ คือ
1.2.1 เพื่อที่จะช่วยให้ครูได้ทำงาน ได้บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้กำหนดไว้ หรือสำหรับปรับแผนให้สอดคล้องกับกรอบความคิดของผู้นิเทศ
1.2.2 สำหรับผู้นิเทศ การแนะนำ การแปลความหมายหรือตีความเพื่อให้ครูได้คิด ได้พิจารณาโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการแปลความหมายนั้นอย่างมีเหตุผลสัมพันธ์ไปสู่การเปลี่ยนแปลงในแผนการสอนของครู และพฤติกรรมการสอนของครูในภายหลัง เหตุผล และการอ้างเหตุผลสนับสนุน สำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้น จะต้องมีความหมายอยู่ในกรอบความคิดรวบยอดของครูด้วย โดยสรุปหลักสำคัญในขั้นตอนที่หนึ่งนี้คือ ผู้นิเทศเรียนรู้ความคิดและความในใจของครูเกี่ยวกับแผนการสอนของเขา และครูสามารถที่จะตอบสนองโดยการอธิบายความคิดที่เขามีอยู่ในใจได้อย่างกระจ่างชัดเจนต่อผู้นิเทศ
1.3 เป็นการฝึกซ้อมการสอน โดยเหตุผลเบื้องต้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การกำหนดแผนการสอนนั้นเป็นการช่วยให้ครูได้ฝึกการสอนไปในตัวและเป็นการฝึกการคิดแบบคิดรวบยอด (Concept) นอกจากนั้น ยังให้โอกาสต่อครูและผู้นิเทศ ที่จะทำนายและคาดหวังไว้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น บ้าง หรือจะมีอุปสรรคใดบ้างที่จะเกิดขึ้นในขณะที่ครูสอน โดยที่ทั้งสองฝ่ายช่วยกันคิดวิเคราะห์จากบทเรียนว่าสิ่งที่ไม่คาดหวังที่จะเกิดขึ้นได้นั้นมีอะไรบ้าง และผู้นิเทศจะช่วยเหลือครูโดยการฝึกซ้อมกันว่า ถ้าสิ่งนั้นๆ เกิดขึ้น ควรจะจัดการอย่างไร จะแก้ไขและลดปัญหาลงได้อย่างไร ทั้งสองฝ่ายจะอภิปรายและฝึกกัน จนเป็นที่พึงพอใจของครู
1.4 การแก้ไขแผนการสอน นอกจากเป็นการให้โอกาสกับครูได้ฝึก ขั้นตอนแผนการสอนของเขา ในขั้นตอนที่หนึ่งนี้ ยังช่วยให้ครูได้ปรับปรุงแผนการสอนอีกด้วย
1.5 การทำสัญญาร่วมกัน มีการดำเนินการดังต่อไปนี้ การทำสัญญาร่วมกัน หมายถึง การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอนนี้ เป็นช่วงเวลาที่ครูและผู้นิเทศจะทำข้อตกลงร่วมกันอย่างชัดเจน สำหรับการนิเทศที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่กะทันหันและการนิเทศนั้นจะกระทำหรือปฏิบัติอย่างไร ครูและผู้นิเทศควรอภิปรายกันอย่างเปิดเผย ว่ามีความต้องการที่จะทำการนิเทศให้ต่อเนื่องในทุกๆขั้นตอนจนครบ วัฎจักรของการนิเทศหรือไม่ ถ้าในการอภิปรายกันนี้ ตกลงกันได้ว่าจะให้การนิเทศบรรลุในขั้นตอนใด ก็ถือว่าเป็นข้อตกลงร่วมกัน
1.1 เป็นการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้นิเทศ ถ้าในขั้นที่ 1 นี้เกิดขึ้นตามความมุ่งหวังโดยที่ครูและผู้นิเทศ ต่างมีทัศนคติและความรู้สึกที่ดีต่อกัน เข้าใจซึ่งกันและกันแล้ว จะเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ทำให้เกิดความเข้าใจที่ช่วยทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานร่วมกันครูและผู้นิเทศต้องการความรวดเร็ว ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการสอนและบันทึกการสอนของครูที่จะทำการสอน ซึ่งผู้นิเทศจะทำการสังเกตการสอน ความเข้าใจของผู้นิเทศในบทเรียนและแผนการสอนของครูนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้ายิ่งเข้าใจมากเท่าไรก็เป็นการช่วยให้การนิเทศได้ผลดีมากขึ้นเท่านั้น ผู้นิเทศจะต้องเข้าใจถึงความในใจและความตั้งใจของครู ว่าทำไม เหตุผลอะไร ที่เตรียมแผนการสอนเช่นนั้น เพื่อที่จะเข้าใจถึงแรงจูงใจทางวิชาชีพและหลักฐานอ้างอิงอื่นๆ ที่ครูมีอยู่ ความเข้าใจในกรอบความคิดของครูเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจุดประสงค์สำคัญสองประการ คือ
1.2.1 เพื่อที่จะช่วยให้ครูได้ทำงาน ได้บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้กำหนดไว้ หรือสำหรับปรับแผนให้สอดคล้องกับกรอบความคิดของผู้นิเทศ
1.2.2 สำหรับผู้นิเทศ การแนะนำ การแปลความหมายหรือตีความเพื่อให้ครูได้คิด ได้พิจารณาโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการแปลความหมายนั้นอย่างมีเหตุผลสัมพันธ์ไปสู่การเปลี่ยนแปลงในแผนการสอนของครู และพฤติกรรมการสอนของครูในภายหลัง เหตุผล และการอ้างเหตุผลสนับสนุน สำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้น จะต้องมีความหมายอยู่ในกรอบความคิดรวบยอดของครูด้วย โดยสรุปหลักสำคัญในขั้นตอนที่หนึ่งนี้คือ ผู้นิเทศเรียนรู้ความคิดและความในใจของครูเกี่ยวกับแผนการสอนของเขา และครูสามารถที่จะตอบสนองโดยการอธิบายความคิดที่เขามีอยู่ในใจได้อย่างกระจ่างชัดเจนต่อผู้นิเทศ
1.3 เป็นการฝึกซ้อมการสอน โดยเหตุผลเบื้องต้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การกำหนดแผนการสอนนั้นเป็นการช่วยให้ครูได้ฝึกการสอนไปในตัวและเป็นการฝึกการคิดแบบคิดรวบยอด (Concept) นอกจากนั้น ยังให้โอกาสต่อครูและผู้นิเทศ ที่จะทำนายและคาดหวังไว้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น บ้าง หรือจะมีอุปสรรคใดบ้างที่จะเกิดขึ้นในขณะที่ครูสอน โดยที่ทั้งสองฝ่ายช่วยกันคิดวิเคราะห์จากบทเรียนว่าสิ่งที่ไม่คาดหวังที่จะเกิดขึ้นได้นั้นมีอะไรบ้าง และผู้นิเทศจะช่วยเหลือครูโดยการฝึกซ้อมกันว่า ถ้าสิ่งนั้นๆ เกิดขึ้น ควรจะจัดการอย่างไร จะแก้ไขและลดปัญหาลงได้อย่างไร ทั้งสองฝ่ายจะอภิปรายและฝึกกัน จนเป็นที่พึงพอใจของครู
1.4 การแก้ไขแผนการสอน นอกจากเป็นการให้โอกาสกับครูได้ฝึก ขั้นตอนแผนการสอนของเขา ในขั้นตอนที่หนึ่งนี้ ยังช่วยให้ครูได้ปรับปรุงแผนการสอนอีกด้วย
1.5 การทำสัญญาร่วมกัน มีการดำเนินการดังต่อไปนี้ การทำสัญญาร่วมกัน หมายถึง การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอนนี้ เป็นช่วงเวลาที่ครูและผู้นิเทศจะทำข้อตกลงร่วมกันอย่างชัดเจน สำหรับการนิเทศที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่กะทันหันและการนิเทศนั้นจะกระทำหรือปฏิบัติอย่างไร ครูและผู้นิเทศควรอภิปรายกันอย่างเปิดเผย ว่ามีความต้องการที่จะทำการนิเทศให้ต่อเนื่องในทุกๆขั้นตอนจนครบ วัฎจักรของการนิเทศหรือไม่ ถ้าในการอภิปรายกันนี้ ตกลงกันได้ว่าจะให้การนิเทศบรรลุในขั้นตอนใด ก็ถือว่าเป็นข้อตกลงร่วมกัน
การตกลงร่วมกันนั้น ควรกระทำด้วยความเป็นจริงและมีความจริงใจซึ่งกันและกัน ควรจะหลีกเลี่ยงการเกรงใจกันและควรหลีกเลี่ยงการผูกมัดที่เป็นแบบแผน ในการตัดสินใจต่อขั้นตอนของการนิเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการนิเทศที่เกิดจากแรงจูงใจที่ผิดและขัดกับจุดมุ่งหมาย ครูและผู้นิเทศจะต้องใช้เวลา ใช้ความอดทน ในการพิจารณาร่วมกันก่อนที่จะตัดสินใจ เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ บรรลุถึงหลักการที่ตกลงร่วมกันได้แล้ว ภายหลังจากนั้นถ้าหากมีความจำเป็น ทั้งสองฝ่ายอาจจะปรับข้อตกลงใหม่ได้ แต่ต้องจัดทำให้ชัดเจน ข้อตกลงร่วมกันนั้นจะถือเป็นหลักในการปฏิบัติซึ่งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในระหว่างปฏิบัติการนิเทศ ยกเว้นในกรณีที่ทั้งสอง ฝ่ายมีความคิดเห็นร่วมกัน ว่าควรจะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ก็พึงกระทำได้ ความต้องการในการสร้างสัญญาหรือข้อตกลงร่วมกันไว้ล่วงหน้านั้น สืบเนื่องมาจากสภาวะที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปสองประการ คือ
1.5.1 การนิเทศที่เกิดขึ้นนั้น บ่อยครั้งเป็นการแสดงบทบาทตามแบบแผน ที่เป็นกิจวัตรระหว่างครูและผู้นิเทศ ผู้นิเทศจะคิดอยู่เสมอว่า งานของฉันคือทำหน้าที่นิเทศ และงานของคุณคือสอนหนังสือ และคุณจะถูกนิเทศในวันนี้ รีบๆ ดำเนินงานเสียให้เสร็จ จะได้หมดหน้าที่ และหมดกังวลใจไปเสียที
1.5.2 ถ้าปราศจากข้อตกลงที่ชัดเจนล่วงหน้าการนิเทศมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามความสะดวกสบายเชิงสังคมเป็นการเยี่ยมเยียนกันไป ลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่การนิเทศการ สอน การทำสัญญาตกลงร่วมกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมการนิเทศประการหนึ่งในขั้นตอนที่หนึ่งนี้ โดยทั่วๆ ไป เป็นภารกิจในระยะสั้นเพื่อที่จะนำเข้าสู่ขั้นตอนของการนิเทศ การาทำสัญญาร่วมกันเพื่อภารกิจในระยะยาวนั้น จะมีประสิทธิผลต่อวัฏจักรของการนิเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ ในระยะยาวระหว่างครูและผู้นิเทศให้กระชับแน่นแฟ้มขึ้น และสิ่งที่ผู้นิเทศควรกระทำอย่างเร่งด่วนในปัจจุบันนี้ คือการเน้นในปัญหาที่เฉพาะเจาะจงที่ครูกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งเขาพยายามที่จะไขปัญหาเหล่านั้น เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนของเขาเท่านั้น
1.5.1 การนิเทศที่เกิดขึ้นนั้น บ่อยครั้งเป็นการแสดงบทบาทตามแบบแผน ที่เป็นกิจวัตรระหว่างครูและผู้นิเทศ ผู้นิเทศจะคิดอยู่เสมอว่า งานของฉันคือทำหน้าที่นิเทศ และงานของคุณคือสอนหนังสือ และคุณจะถูกนิเทศในวันนี้ รีบๆ ดำเนินงานเสียให้เสร็จ จะได้หมดหน้าที่ และหมดกังวลใจไปเสียที
1.5.2 ถ้าปราศจากข้อตกลงที่ชัดเจนล่วงหน้าการนิเทศมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามความสะดวกสบายเชิงสังคมเป็นการเยี่ยมเยียนกันไป ลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่การนิเทศการ สอน การทำสัญญาตกลงร่วมกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมการนิเทศประการหนึ่งในขั้นตอนที่หนึ่งนี้ โดยทั่วๆ ไป เป็นภารกิจในระยะสั้นเพื่อที่จะนำเข้าสู่ขั้นตอนของการนิเทศ การาทำสัญญาร่วมกันเพื่อภารกิจในระยะยาวนั้น จะมีประสิทธิผลต่อวัฏจักรของการนิเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ ในระยะยาวระหว่างครูและผู้นิเทศให้กระชับแน่นแฟ้มขึ้น และสิ่งที่ผู้นิเทศควรกระทำอย่างเร่งด่วนในปัจจุบันนี้ คือการเน้นในปัญหาที่เฉพาะเจาะจงที่ครูกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งเขาพยายามที่จะไขปัญหาเหล่านั้น เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนของเขาเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 2 การสังเกตการสอน จุดมุ่งหมายของสังเกตการสอน คือผู้นิเทศการสอนจะลงมือสังเกตการสอน เพื่อที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล นำไปวิเคราะห์ร่วมกับครู ให้บรรลุจุดหมายปลายทางนี้ ข้อมูลจะเก็บและรวบรวมโดยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม อาจจะเป็นวิเคราะห์ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ปัญหาที่ได้ชี้แนะไว้ก่อนล่วงหน้าในขั้นตอนที่ 1 หรืออาจจะเป็นปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จากข้อมูลที่ได้มาใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ข้อมูลนั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง มีความเที่ยงตรงแม่นยำและมีความสมบูรณ์แบบ ที่สะท้อนให้เห็นเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพราะถ้าหากข้อมูลมีความบิดเบือนไปจากสิ่งที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นจริงในชั้นเรียนแล้ว ผลของการวิเคราะห์นั้นจะไม่มีคุณค่าเลย
จุดมุ่งหมายหลักก็คือ การจัดสรรข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้ในการวางแผนการสอนในอนาคตควรคำนึงถึงการนำเอาไปใช้ในอนาคต ซึ่งเป็นคุณภาพและความสำเร็จของการตกลงร่วมกันในการประชุม และถ้าชัดเจนมากเท่าใดก็จะมีผลดีมากเท่านั้น
เหตุผลประการที่หนึ่ง ที่ผู้สังเกตการสอน คือ ในขณะที่ทำการสอนอยู่นั้น ไม่สามารถเห็นภาพการสอนที่แท้จริงของตัวเองได้ แต่ในขณะเดียวกันผู้นิเทศอยู่ในภาวะที่มีความพร้อมและไม่มีภาระอื่นๆ จึงสามารถสังเกตการสอนได้โดยละเอียดทุกด้าน
เหตุผลประการที่สอง เป็นการสะท้อนกลับให้เห็นถึงว่า ผู้นิเทศ ได้แสดงความสนใจซึ่งเป็นเงื่อนไขทางวิชาชีพต่อครู โดยการให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด ต่อการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู และภายใต้สภาวการณ์นี้งานของผู้นิเทศเกี่ยวกับการสังเกตการณ์สอนนั้น เป็นการให้เกิดความสมดุล ทางด้านเทคนิคของการนิเทศ และเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ นั้น มิใช่ในเชิงสังคม เพราะการนิเทศเชิงสังคมนั้นไม่ใช่แก่นสารของงานนิเทศ เหตุผลประการที่สาม ผู้นิเทศมีโอกาสที่อยู่ใกล้ชิดกับครูและนักเรียนในชั้น ในทุกๆวินาทีเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในขณะปฏิบัติการสอน ผู้นิเทศให้ความช่วยเหลือต่อครูได้ ถ้าหากว่าข้อมูลนั้นสามารถใช้สำหรับพัฒนาการแก้ปัญหาในการปฏิบัติได้ ดังนั้น ควรจะใช้ข้อมูลนั้นให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา
โดยสรุป ในการสังเกตการสอนเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้นิเทศ ได้ช่วยเหลือครูพิสูจน์ ความจริงเกี่ยวกับการรับรู้การประเมินการสอนของครูว่ามีความเหมาะสมเพียงใด ต้องสนับสนุนให้ครูเป็นตัวของเขาเอง พิจารณาตัดสินใจด้วยตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือให้ครูได้พัฒนาตนเองให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตน ให้เกิดความคิดที่เป็นอิสระต่อตัวเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มพูนสมรรถภาพ และทัศนคติในการวิเคราะห์พฤติกรรมการสอน ที่มีจุดมุ่งหมายต่อตนเองได้ในที่สุด โดยสามารถแยกแยะพฤติกรรมการสอนที่ดีและพฤติกรรมการสอนที่ไม่ดีของตัวเองได้ และการที่ผู้นิเทศหลีกเลี่ยงการใช้ค่านิยมของตนเองไปพิจารณาตัดสินพฤติกรรมการสอนของครูได้นั้นเป็นพฤติกรรมการนิเทศที่ดีที่ควร สรรเสริญและควรที่จะปฏิบัติให้ได้
จุดมุ่งหมายหลักก็คือ การจัดสรรข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้ในการวางแผนการสอนในอนาคตควรคำนึงถึงการนำเอาไปใช้ในอนาคต ซึ่งเป็นคุณภาพและความสำเร็จของการตกลงร่วมกันในการประชุม และถ้าชัดเจนมากเท่าใดก็จะมีผลดีมากเท่านั้น
เหตุผลประการที่หนึ่ง ที่ผู้สังเกตการสอน คือ ในขณะที่ทำการสอนอยู่นั้น ไม่สามารถเห็นภาพการสอนที่แท้จริงของตัวเองได้ แต่ในขณะเดียวกันผู้นิเทศอยู่ในภาวะที่มีความพร้อมและไม่มีภาระอื่นๆ จึงสามารถสังเกตการสอนได้โดยละเอียดทุกด้าน
เหตุผลประการที่สอง เป็นการสะท้อนกลับให้เห็นถึงว่า ผู้นิเทศ ได้แสดงความสนใจซึ่งเป็นเงื่อนไขทางวิชาชีพต่อครู โดยการให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด ต่อการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู และภายใต้สภาวการณ์นี้งานของผู้นิเทศเกี่ยวกับการสังเกตการณ์สอนนั้น เป็นการให้เกิดความสมดุล ทางด้านเทคนิคของการนิเทศ และเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ นั้น มิใช่ในเชิงสังคม เพราะการนิเทศเชิงสังคมนั้นไม่ใช่แก่นสารของงานนิเทศ เหตุผลประการที่สาม ผู้นิเทศมีโอกาสที่อยู่ใกล้ชิดกับครูและนักเรียนในชั้น ในทุกๆวินาทีเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในขณะปฏิบัติการสอน ผู้นิเทศให้ความช่วยเหลือต่อครูได้ ถ้าหากว่าข้อมูลนั้นสามารถใช้สำหรับพัฒนาการแก้ปัญหาในการปฏิบัติได้ ดังนั้น ควรจะใช้ข้อมูลนั้นให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา
โดยสรุป ในการสังเกตการสอนเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้นิเทศ ได้ช่วยเหลือครูพิสูจน์ ความจริงเกี่ยวกับการรับรู้การประเมินการสอนของครูว่ามีความเหมาะสมเพียงใด ต้องสนับสนุนให้ครูเป็นตัวของเขาเอง พิจารณาตัดสินใจด้วยตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือให้ครูได้พัฒนาตนเองให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตน ให้เกิดความคิดที่เป็นอิสระต่อตัวเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มพูนสมรรถภาพ และทัศนคติในการวิเคราะห์พฤติกรรมการสอน ที่มีจุดมุ่งหมายต่อตนเองได้ในที่สุด โดยสามารถแยกแยะพฤติกรรมการสอนที่ดีและพฤติกรรมการสอนที่ไม่ดีของตัวเองได้ และการที่ผู้นิเทศหลีกเลี่ยงการใช้ค่านิยมของตนเองไปพิจารณาตัดสินพฤติกรรมการสอนของครูได้นั้นเป็นพฤติกรรมการนิเทศที่ดีที่ควร สรรเสริญและควรที่จะปฏิบัติให้ได้
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวิธีการประชุม ในขั้นตอนนี้ มีจุดมุ่งหมาย โดยทั่วไป สองประการคือ
3.1 การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตการสอน เพื่อจัดให้เป็นระเบียบแยกแยะเป็นหมวดหมู่ให้มีระบบ และสามารถจัดการกับข้อมูลได้
3.2 การกำหนดวิธีการประชุม เพื่อวางแผนการจัดการและการดำเนินการประชุมนิเทศ ซึ่งจะติดตามมาในขั้นตอนที่ 4 การกำหนดวิธีการประชุมร่วมกันนั้น เป็นกิจกรรมที่ครูและผู้นิเทศจะลงมือกระทำร่วมกันในบรรยากาศที่เป็นกันเอง มีความเสมอภาค เชื่อมั่นไว้ใจซึ่งกันและกัน และมีการปฏิบัติซึ่งกันและกันในฐานะที่มีความสัมพันธ์ฉันเพื่อนร่วมวิชาชีพ (Colleague) โดยลงมือทำงานร่วมกัน ในกิจกรรมต่อไปนี้
3.2.1 พิจารณาถึงประเด็นสำคัญ เป็นการพิจารณาถึงประเด็นหรือปัญหาที่สำคัญที่เห็นว่าน่าจะยกขึ้นมาอภิปรายร่วมกัน เพื่อการดำเนินงานต่อไป
3.2.2 พิจารณาข้อมูลที่สำคัญ พิจารณาถึงข้อมูลที่สำคัญมีความเหมาะสมที่จะอ้างอิง เพื่อนำขึ้นมาวิเคราะห์
3.2.3 พิจารณาสร้างจุดมุ่งหมายที่เฉพาะเจาจงที่ต้องการจะกระทำให้สำเร็จลงไป
3.2.4 พิจารณาขอบเขตของงาน พิจารณาถึงขอบเขตของงานว่าจะเริ่มต้นตรงไหน และจะใช้วิธีการอย่างไร และขอบเขตของงานว่าจะสิ้นสุดตรงไหน และสิ้นสุดด้วยวิธีการอย่างไร
3.2.5 พิจารณาหน้าที่ โดยพิจารณาว่าใครจะทำอะไรบ้าง และทำอย่างไร การสังเกตการสอนนั้น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเบื้องต้น ดังนั้น การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอนจึงเปรียบเสมือนหัวใจของการนิเทศแบบคลินิก
3.1 การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตการสอน เพื่อจัดให้เป็นระเบียบแยกแยะเป็นหมวดหมู่ให้มีระบบ และสามารถจัดการกับข้อมูลได้
3.2 การกำหนดวิธีการประชุม เพื่อวางแผนการจัดการและการดำเนินการประชุมนิเทศ ซึ่งจะติดตามมาในขั้นตอนที่ 4 การกำหนดวิธีการประชุมร่วมกันนั้น เป็นกิจกรรมที่ครูและผู้นิเทศจะลงมือกระทำร่วมกันในบรรยากาศที่เป็นกันเอง มีความเสมอภาค เชื่อมั่นไว้ใจซึ่งกันและกัน และมีการปฏิบัติซึ่งกันและกันในฐานะที่มีความสัมพันธ์ฉันเพื่อนร่วมวิชาชีพ (Colleague) โดยลงมือทำงานร่วมกัน ในกิจกรรมต่อไปนี้
3.2.1 พิจารณาถึงประเด็นสำคัญ เป็นการพิจารณาถึงประเด็นหรือปัญหาที่สำคัญที่เห็นว่าน่าจะยกขึ้นมาอภิปรายร่วมกัน เพื่อการดำเนินงานต่อไป
3.2.2 พิจารณาข้อมูลที่สำคัญ พิจารณาถึงข้อมูลที่สำคัญมีความเหมาะสมที่จะอ้างอิง เพื่อนำขึ้นมาวิเคราะห์
3.2.3 พิจารณาสร้างจุดมุ่งหมายที่เฉพาะเจาจงที่ต้องการจะกระทำให้สำเร็จลงไป
3.2.4 พิจารณาขอบเขตของงาน พิจารณาถึงขอบเขตของงานว่าจะเริ่มต้นตรงไหน และจะใช้วิธีการอย่างไร และขอบเขตของงานว่าจะสิ้นสุดตรงไหน และสิ้นสุดด้วยวิธีการอย่างไร
3.2.5 พิจารณาหน้าที่ โดยพิจารณาว่าใครจะทำอะไรบ้าง และทำอย่างไร การสังเกตการสอนนั้น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเบื้องต้น ดังนั้น การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอนจึงเปรียบเสมือนหัวใจของการนิเทศแบบคลินิก
การพิจารณากำหนดวิธีการนิเทศ งานขั้นต่อไปของผู้นิเทศ หลังจากได้ลงมือกระทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตการสอนแล้ว คือการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการประชุมนิเทศว่าจะดำเนินการอย่างไร หลักการและเหตุผลของการกำหนดวิธีการประชุมนิเทศ ว่าควรจะดำเนินการอย่างไร หลักการและเหตุผลของการกำหนดวิธีการนิเทศนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับการวางแผนการสอนคือการวางแผนที่จะดำเนินงานที่มีจุดมุ่งหมาย และวิธีการที่แน่นอน
ในการประชุมนิเทศนั้น จะมีผลที่เกี่ยวโยงกับความมั่นคงทางอารมณ์ของครูเป็นอย่างยิ่งซึ่งอาจจะทำให้ครูเกิดความกระทบกระเทือนใจ น้อยใจ เกี่ยวกับคำแนะนำในเรื่องพฤติกรรมาการสอนของเขา ดังนั้นในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นผู้นิเทศ ควรพึงสังวรอยู่เสมอว่า การลงทุนที่มีคุณค่าของการนิเทศการสอนนั้น คือความพยายามที่จะสร้างความสนใจและแรงจูงใจของผู้รับการนิเทศ ให้เห็นคุณค่าของการนิเทศ
วิธีการประชุมนิเทศนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการนิเทศจะทำให้ครูเกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการของการนิเทศ เนื่องจากครูได้เห็นและรับรู้ว่า ผู้นิเทศได้ใช้เวลาและความพยายามอย่างสูงในการนิเทศ ด้วยความจริงใจมากว่าเพียงทำเพื่อให้งานผ่านพ้นไป ควรเปิดโอกาสให้ครูได้มีเวลาที่เป็นอิสระจากงานที่รับผิดชอบ เพื่อที่จะให้ครูมีเวลาที่จะพัฒนาวิธีการประชุมนิเทศด้วยตนเองก่อนที่จะประชุมร่วมกัน ความเป็นไปได้ดังกล่าวมานี้ควรจะให้คงสภาพอยู่ตลอดเวลา ในการปฏิบัติจริง เพื่อทำให้ครูได้เรียบเรียงและรวบรวมความคิดของเขาให้ชัดเจนขึ้น ก่อนที่จะลงมือประชุมนิเทศ ถ้าหากครูได้ปฏิบัติไปด้วยดีในกระบวนการของการนิเทศ ไม่มีความตึงเครียด ใช้ความเฉลียวฉลาด มีจิตผูกพันอยู่กับกระบวนการนิเทศมีความคิดสร้างสรรค์ในวิชาชีพ และปฏิบัติด้วยความเป็นตัวของเขาเอง เมื่อเป็นดังนี้แล้ว การประชุมนิเทศ จะสามารถลำดับความสำคัญและเลือกประเด็นที่สำคัญสำหรับการประชุมอย่างมีระเบียบได้
ในการประชุมนิเทศนั้น จะมีผลที่เกี่ยวโยงกับความมั่นคงทางอารมณ์ของครูเป็นอย่างยิ่งซึ่งอาจจะทำให้ครูเกิดความกระทบกระเทือนใจ น้อยใจ เกี่ยวกับคำแนะนำในเรื่องพฤติกรรมาการสอนของเขา ดังนั้นในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นผู้นิเทศ ควรพึงสังวรอยู่เสมอว่า การลงทุนที่มีคุณค่าของการนิเทศการสอนนั้น คือความพยายามที่จะสร้างความสนใจและแรงจูงใจของผู้รับการนิเทศ ให้เห็นคุณค่าของการนิเทศ
วิธีการประชุมนิเทศนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการนิเทศจะทำให้ครูเกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการของการนิเทศ เนื่องจากครูได้เห็นและรับรู้ว่า ผู้นิเทศได้ใช้เวลาและความพยายามอย่างสูงในการนิเทศ ด้วยความจริงใจมากว่าเพียงทำเพื่อให้งานผ่านพ้นไป ควรเปิดโอกาสให้ครูได้มีเวลาที่เป็นอิสระจากงานที่รับผิดชอบ เพื่อที่จะให้ครูมีเวลาที่จะพัฒนาวิธีการประชุมนิเทศด้วยตนเองก่อนที่จะประชุมร่วมกัน ความเป็นไปได้ดังกล่าวมานี้ควรจะให้คงสภาพอยู่ตลอดเวลา ในการปฏิบัติจริง เพื่อทำให้ครูได้เรียบเรียงและรวบรวมความคิดของเขาให้ชัดเจนขึ้น ก่อนที่จะลงมือประชุมนิเทศ ถ้าหากครูได้ปฏิบัติไปด้วยดีในกระบวนการของการนิเทศ ไม่มีความตึงเครียด ใช้ความเฉลียวฉลาด มีจิตผูกพันอยู่กับกระบวนการนิเทศมีความคิดสร้างสรรค์ในวิชาชีพ และปฏิบัติด้วยความเป็นตัวของเขาเอง เมื่อเป็นดังนี้แล้ว การประชุมนิเทศ จะสามารถลำดับความสำคัญและเลือกประเด็นที่สำคัญสำหรับการประชุมอย่างมีระเบียบได้
ขั้นตอนที่ 4 การประชุมนิเทศ ความมุ่งหมายในการประชุมนิเทศก็คือ การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ครู และการสรรหาข้อสรุปร่วมกันในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น นอกจากนี้ก็ควรจะได้มีการฝึกฝนให้ครูสามารถนิเทศตนเองได้ในที่สุด
สำหรับแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานนั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการกำหนดวิธีการประชุมนิเทศนอกจาเมื่อผู้นิเทศสังเกตว่าครูเริ่มจะเบื่อ หรือหันเหความสนใจไปทางด้านอื่นมากกว่าที่กำหนดเอาไว้ก็อาจจะร่วมกันพิจารณาว่าแนวทางในการนิเทศนั้นควรเป็นอย่างไร หรือใช้วิธีการปฏิบัติอย่างไรหรือพิจารณายุติการประชุมนิเทศลงชั่วคราวได้
การประชุมนิเทศมีความมุ่งหมาย เพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ครู เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ที่ผู้นิเทศได้จัดรวบรวมมาจากการสังเกตการสอน และจากข้อมูลป้อนกลับเหล่านั้น ครูและผู้นิเทศจะร่วมกันศึกษา และหาข้อสรุปที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแนวการจัดการเรียนการสอน เพื่อการเตรียมการสอนในครั้งต่อไป ส่วนการแก้ไขบทเรียนที่ครูสอนไปแล้ว จะทำต่อเมื่อครูจะนำบทเรียนนั้นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับนักเรียนชั้นอื่นๆ อีกต่อไปเท่านั้น
การประชุมนิเทศ จะเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าการวิเคราะห์ข้อมูล และการกำหนดวิธีการในการประชุมนิเทศได้มีการดำเนินงานอย่างละเอียดรอบคอบ เพราะข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 3 นั้น จะเป็นแนวทางไปสู่ความสำเร็จ ในการจัดการประชุมนิเทศนั่นเอง อย่างไรก็ตามความสำเร็จในการดำเนินการประชุมนิเทศนั้น ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีก เช่น ความรู้ ทักษะ และความสามารถของผู้นิเทศนั้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการนิเทศร่วมกันครั้งแรกระหว่างครูกับผู้นิเทศ ผู้นิเทศจึงควรเป็นผู้ที่มีความรู้หลายด้าน นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอน เช่น ความรู้ทางด้านจิตวิทยาทั่วไป ด้านการสื่อสาร และด้านการให้คำปรึกษาเป็นต้น ทั้งนี้เพราะการดำเนินงานในขั้นตอนนี้ จะเกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาต่าง ๆ การทำความตกลงในหลักการและแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านั้น รวมทั้งการแสวงหาแนวทางในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน บางครั้งอาจจะเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่อาจจะขัดต่อความรู้สึกของครู ซึ่งอาจก่อให้เกิดการขัดแย้ง การกระทบกระทั่งและนำไปสู่ความล้มเหลวในการจัดการนิเทศได้ตลอดเวลา การที่ผู้นิเทศได้มีความรู้และทักษะในศาสตร์ต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว จะช่วยให้การดำเนินการในขั้นตอนนี้เป็นไปด้วยดีอีกด้วย
บรรยากาศในการประชุมนิเทศ ความสำคัญอีกประการหนึ่ง บรรยากาศในการประชุมนิเทศ ควรจะเป็นกันเองและมีความอบอุ่น ครูและผู้นิเทศมีความ เสมอภาคกันในทางวิชาการ ต่างฝ่ายก็เคารพในความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนอย่างนักวิชาการ อย่างไรก็ตามหากสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกันระหว่างครูและผู้นิเทศดำเนินมาด้วยดีแล้ว เชื่อว่าปัญหาในการดำเนินงานในขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นน้อยหรือไม่เกิดปัญหาขึ้นอีกเลย ข้อเสนอแนะในการดำเนินการประชุมนิเทศนั้น มีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
1. ควรจะเสนอปัญหาให้สอดคล้องกับความต้องการของครู โดยเฉพาะข้อตกลงที่ครูและผู้นิเทศได้กำหนดไว้นั้นขั้นตอนที่หนึ่ง
2. ในการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ครูนั้น ควรจะเป็นเรื่องที่ เฉพาะเจาะจง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และการเสนอควรให้ชัดเจนและมีข้อมูลซึ่งได้จากการสังเกตการสอนสนับสนุนทุกครั้ง
3. ผู้นิเทศควรจะประเมินความรู้สึกของครูตลอดเวลาระหว่างการประชุมนิเทศ หากรู้สึกว่าครูเริ่มจะเบื่อ ก็อาจหาทางสรุปและยุติการประชุมเสีย ไม่จำเป็นต้องดำเนินการให้ครบตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 3 ทั้งหมด หรือจะเลื่อนการประชุมนิเทศออกไปก็ได้ แต่ควรจะได้รับความเห็นชอบจากครูก่อน
4. ถ้าการดำเนินการประชุมนิเทศเป็นไปด้วยดี และยังมีเวลาเหลือ ผู้นิเทศอาจจะเสนอประเด็นปัญหาที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการจัดการเรียน
การสอน
5. ควรมีการตกลงกันในหลักการและสรุปแนวทางในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนตลอดจนการเตรียมการสอนร่วมกัน
โดยสรุปแล้ว ผลของการประชุมนิเทศนั้น จะนำไปสู่ความสำเร็จตามความมุ่งหมายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวแปรทางด้านจิตวิทยา ที่มีอิทธิพลอยู่ในกระบวนการทำงานระหว่างครูและผู้นิเทศ ซึ่งอาจจะทำให้การทำงานนั้นประสบผลสำเร็จหรืออาจก่อให้เกิดอุปสรรคขัดขวางการทำงานทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ ผลของตัวแปรทางด้านจิตวิทยาขึ้นอยู่กับลักษณะความสัมพันธ์ การแสดงออก และวิธีการที่ผู้นิเทศได้กระทำต่อครู
2. ในการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ครูนั้น ควรจะเป็นเรื่องที่ เฉพาะเจาะจง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และการเสนอควรให้ชัดเจนและมีข้อมูลซึ่งได้จากการสังเกตการสอนสนับสนุนทุกครั้ง
3. ผู้นิเทศควรจะประเมินความรู้สึกของครูตลอดเวลาระหว่างการประชุมนิเทศ หากรู้สึกว่าครูเริ่มจะเบื่อ ก็อาจหาทางสรุปและยุติการประชุมเสีย ไม่จำเป็นต้องดำเนินการให้ครบตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 3 ทั้งหมด หรือจะเลื่อนการประชุมนิเทศออกไปก็ได้ แต่ควรจะได้รับความเห็นชอบจากครูก่อน
4. ถ้าการดำเนินการประชุมนิเทศเป็นไปด้วยดี และยังมีเวลาเหลือ ผู้นิเทศอาจจะเสนอประเด็นปัญหาที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการจัดการเรียน
การสอน
5. ควรมีการตกลงกันในหลักการและสรุปแนวทางในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนตลอดจนการเตรียมการสอนร่วมกัน
โดยสรุปแล้ว ผลของการประชุมนิเทศนั้น จะนำไปสู่ความสำเร็จตามความมุ่งหมายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวแปรทางด้านจิตวิทยา ที่มีอิทธิพลอยู่ในกระบวนการทำงานระหว่างครูและผู้นิเทศ ซึ่งอาจจะทำให้การทำงานนั้นประสบผลสำเร็จหรืออาจก่อให้เกิดอุปสรรคขัดขวางการทำงานทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ ผลของตัวแปรทางด้านจิตวิทยาขึ้นอยู่กับลักษณะความสัมพันธ์ การแสดงออก และวิธีการที่ผู้นิเทศได้กระทำต่อครู
ขั้นตอนที่ 5 การประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ เหตุผลและจุดมุ่งหมายของการประชุมนิเทศ วิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ ซึ่งกระบวนการของการนิเทศ ได้ดำเนินไปตามขั้นตอนที่ต่อเนื่องกัน เรียกว่าดำเนินไป ตามวัฏจักรของการนิเทศ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน (Pre Observation Conference) เป็นการสร้างความเข้าใจและข้อตกลงร่วมกันระหว่างครูและผู้นิเทศ การสังเกตการสอน (Observation) เป็นการที่ผู้นิเทศจะสังเกตพฤติกรรมการสอนจริงของครู การวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวิธีการประชุม (Analysis and Strategy ) คือการรวบรวมจัดข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ และภายหลังจากนั้น จะร่วมกันคิดวางแผนของการปฏิบัติการนิเทศว่าควรจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การประชุมนิเทศ(Supervision Conference) คือ การดำเนินการประชุมนิเทศ เป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอน จากในขั้นตอนที่สาม และการดำเนินงานของการประชุมนิเทศนั้น ก็จะปฏิบัติตามหลักการและเหตุผลตามที่ได้ตกลงร่วมกัน จากผลของการอภิปรายในขั้นตอนที่ 3 เช่นเดียวกัน เมื่อการปฏิบัติได้ดำเนินไปตามวัฏจักรของการนิเทศจนครบทั้งสี่ขั้นตอนแล้ว จึงมาถึงขั้นตอนที่ 5 คือการประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ
การประชุมนิเทศนั้น คือการพิจารณาถึงพฤติกรรมการนิเทศที่ผู้นิเทศได้ปฏิบัติลงไป ตั้งแต่เริ่มต้น ในขั้นตอนที่ 1 จนถึงขั้นตอนที่ 4 การพิจารณาโดยละเอียดถึงพฤติกรรมการนิเทศทุกอย่างว่าการปฏิบัติการนิเทศของผู้นิเทศนั้นมีข้อดีและข้อบกพร่องอะไรบ้างโดยทำการวิเคราะห์ในทำนองเดียวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการสอนของครูในหลักการของการนิเทศและคลินิกนั้น ครูมีสิทธิทางวิชาชีพ (Professional Right) ที่จะให้ข้อมูลป้อนกลับต่อผู้นิเทศ เกี่ยวกับพฤติกรรมการนิเทศของเขา ที่จะช่วยให้ผู้นิเทศนำไปปรับปรุงและพัฒนาทักษะในการนิเทศของให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จรรยาบรรณประการหนึ่งของผู้นิเทศคลินิกคือการปกป้องไว้ซึ่งสิทธิทางวิชาชีพครูและความสนใจทางวิชาชีพของครูในฐานะเป็นผู้รับบริการ ดังนั้น ผู้นิเทศควรสำนึกที่บริสุทธิ์อยู่เสมอถึงพฤติกรรมและการปฏิบัติการนิเทศของเขาที่จะต้องควบคุมให้อยู่ในภาวะที่อำนวยประโยชน์ต่อพัฒนาการทางวิชาชีพของครูอยู่ในทุกขณะ จากความคิดและความเชื่อดังกล่าวข้างต้นนี้ ผู้นิเทศคลินิกจะต้องฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศของตนเอง ที่ได้กระทำลงไปในวัฎจักรของการนิเทศที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อครู ฯลฯ ในทางลบ ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงพฤติกรรมการนิเทศที่จะใช้ประพฤติปฏิบัติในวัฎจักรต่อไปของการนิเทศเพื่อให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยสรุปแล้ว การประชุมวิเคราะห์การนิเทศนั้น โดยหลักการ เหตุผล และจุดมุ่งหมาย มีดังต่อไปนี้
1. เป็นการประเมินพฤติกรรมการนิเทศ เพื่อเป็นการประเมินผลว่าการนิเทศนั้นมีประสิทธิผลดีเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการนิเทศที่ดีเด่นและพฤติกรรมการนิเทศที่ควรปรับปรุงแก้ไขแล้ววางแผนหาแนวทางในการปรับปรุงพฤติกรรมการนิเทศนั้นๆให้เป็นไปตามความปรารถนาโดยการทบทวนถึงตัวแปรที่คิดว่าเหมาะสมตัวอย่าง เช่น เทคนิคการนิเทศ ตัวแปรทางอารมณ์ ตัวแปรทางด้านค่านิยมที่เข้ามามีบทบาทที่เด่นชัด ฯลฯ
2. เป็นการนิเทศ-การนิเทศโดยครูและผู้นิเทศ ผู้นิเทศสามารถสาธิต ทักษะของการวิเคราะห์ตนเอง (Skill of Self Analysis) โดยให้ครูเกิดความคุ้นเคยกับงาน และภารกิจที่จะต้องกระทำให้บรรลุในการวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ ซึ่งอาจจะทำได้โดยใช้เครื่องบันทึกภาพ บันทึกเหตุการณ์และพฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในระหว่างการวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ ซึ่งจัดกระทำขึ้นระหว่างครูและผู้นิเทศ
3. เป็นเรื่องการนิเทศ-การนิเทศ โดยกลุ่มหรือโดยตัวผู้นิเทศเอง การวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศนั้นอาจจะจัดทำขึ้นได้โดยตัวของผู้นิเทศตามลำพังก็ได้ หรืออาจจะปฏิบัติได้ในลักษณะการนิเทศโดยกลุ่ม (Group Supervision) หมายถึง การดำเนินการในระหว่างผู้นิเทศหลายๆคนด้วยกันเป็นกลุ่มซึ่งเป็นในลักษณะที่ว่า “การนิเทศ-การนิเทศ” หมายความถึง “ทำการนิเทศของพฤติกรรมการนิเทศกันเอง” วิธีการของการนิเทศ-การนิเทศนั้น ใช้วิธีการเช่นเดียวกันกับที่ผู้นิเทศใช้ในการนิเทศการสอน สิ่งที่ได้เปรียบประการหนึ่งของการนิเทศโดยกลุ่มนั้น คือ การนิเทศที่ปฏิบัติขึ้นโดยมีผู้นิเทศเข้าร่วมตั้งแต่สองคน หรือมากกว่านั้นขึ้นไป ดังนั้นในการปฏิบัติจึงได้เปรียบกว่า คือสมาชิกในกลุ่มบางคนอาจรับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการวิเคราะห์ พฤติกรรมการนิเทศโดยทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการนิเทศทุกขั้นตอนของความต่อเนื่องให้ครบวัฎจักรของการนิเทศเพื่อนำมาวิเคราะห์พิจารณาในกลุ่ม
2. เป็นการนิเทศ-การนิเทศโดยครูและผู้นิเทศ ผู้นิเทศสามารถสาธิต ทักษะของการวิเคราะห์ตนเอง (Skill of Self Analysis) โดยให้ครูเกิดความคุ้นเคยกับงาน และภารกิจที่จะต้องกระทำให้บรรลุในการวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ ซึ่งอาจจะทำได้โดยใช้เครื่องบันทึกภาพ บันทึกเหตุการณ์และพฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในระหว่างการวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ ซึ่งจัดกระทำขึ้นระหว่างครูและผู้นิเทศ
3. เป็นเรื่องการนิเทศ-การนิเทศ โดยกลุ่มหรือโดยตัวผู้นิเทศเอง การวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศนั้นอาจจะจัดทำขึ้นได้โดยตัวของผู้นิเทศตามลำพังก็ได้ หรืออาจจะปฏิบัติได้ในลักษณะการนิเทศโดยกลุ่ม (Group Supervision) หมายถึง การดำเนินการในระหว่างผู้นิเทศหลายๆคนด้วยกันเป็นกลุ่มซึ่งเป็นในลักษณะที่ว่า “การนิเทศ-การนิเทศ” หมายความถึง “ทำการนิเทศของพฤติกรรมการนิเทศกันเอง” วิธีการของการนิเทศ-การนิเทศนั้น ใช้วิธีการเช่นเดียวกันกับที่ผู้นิเทศใช้ในการนิเทศการสอน สิ่งที่ได้เปรียบประการหนึ่งของการนิเทศโดยกลุ่มนั้น คือ การนิเทศที่ปฏิบัติขึ้นโดยมีผู้นิเทศเข้าร่วมตั้งแต่สองคน หรือมากกว่านั้นขึ้นไป ดังนั้นในการปฏิบัติจึงได้เปรียบกว่า คือสมาชิกในกลุ่มบางคนอาจรับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการวิเคราะห์ พฤติกรรมการนิเทศโดยทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการนิเทศทุกขั้นตอนของความต่อเนื่องให้ครบวัฎจักรของการนิเทศเพื่อนำมาวิเคราะห์พิจารณาในกลุ่ม
ถึงแม้ว่าผู้นิเทศจะได้รับการฝึกฝนทางวิชาชีพมาเป็นอย่างดีมีประสบการณ์อย่างกว้างขวางและมีความเชี่ยวชาญในงานของตนอย่างเพียบพร้อม แต่อย่างไรก็ตามการปฏิบัติงานของผู้นิเทศนั้นก็ควรจะได้รับการนิเทศ ในช่วงเวลาหนึ่งๆอยู่เสมอเหมือนกัน ซึ่งเป็นกระบวนการของการนิเทศ-การนิเทศเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพในการนิเทศการสอนของผู้นิเทศ
อ้างอิงบทความนี้ อัญชลี ธรรมะวิธีกุล :http://panchalee.wordpress.com/2009/06/22/clinical-supervision2/
************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น