เลื่อน

นายสิทธิศักดิ์ ปะวันเณ นิสิตชั้นปีที่ 2 รหัส 53010515009 สาขาการศึกษาพิเศษ SED คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตัวอย่างการเขียนหลักสูตรท้องถิ่น


หลักสูตร การทำขนมจีน -น้ำยา หล่มเก่า
 kanomjean
อัญชลี  ธรรมะวิถีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
6   ตุลาคม  2552

ความสำคัญ
            ขนมจีน เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย นอกจากจะทำรับประทานในครอบครัวแล้วยังสามารถทำขายเป็นอาชีพได้ ขนมจีนอำเภอหล่มเก่าเป็นอาหารพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกว่าขนมจีนที่อื่น คือ เส้นขนมจีนจะทำขึ้นมาใหม่ ๆ เส้นจะเหนียว ขาว นุ่ม มีเส้นเล็ก สีของเส้นขนมจีนนอกจากจะเป็นเส้นสีขาวธรรมดาแล้ว ยังมีเส้นทีใช้สีจากสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่นเส้นสีเหลืองจากฟักทอง เส้นสีม่วงจากดอกอัญชัน เส้นสีเขียวจากใบเตย เส้นสีส้มจากแครอท เป็นต้นด้วยลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์นี้จึงทำให้ขนมจีนหล่มเก่าเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และเรียกกันติดปากว่า “ขนมจีนหล่มเก่า”

จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจและ มีทักษะในการทำขนมจีนหล่มเก่า
2. เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงวิธีการและขั้นตอนการทำขนมจีนหล่มเก่า
2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการทำขนมจีนหล่มเก่า
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้จักการอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า

เนื้อหาหลักสูตร  
ประกอบด้วยเนื้อหา 5 เรื่อง ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมาของขนมจีน
2. วิธีการทำขนมจีนหล่ม
3. การบรรจุภัณฑ์
4. การบริหารจัดการและการตลาด
5. การให้บริการ

เวลาเรียน
หลักสูตรการทำขนมจีน – น้ำยา หล่มเก่า ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 50 ชั่วโมง
ภาคทฤษฎี 18 ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ 32 ชั่วโมง

แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน
1. ใบความรู้เนื้อหาวิชาการทำขนมจีน ประกอบด้วย 5 เรื่อง
2. แหล่งเรียนรู้ ร้านบุญมีขนมจีน อำเภอหล่มเก่า

กิจกรรมการเรียนรู้
1. ศึกษาความรู้ด้านทฤษฎี
2. ฝึกปฏิบัติ
3. ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้

การวัดผลประเมินผล
1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้/การมีส่วนร่วม
2. การประเมินผลงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำขนมจีน – น้ำยา หล่มเก่า
2. ผู้เรียนสามารถทำขนมจีน – น้ำยา หล่มเก่า ได้
3. ผู้เรียนมีความตระหนักการอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
4. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการประกอบอาชีพได้

โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร
เรื่องที่ 1 ประวัติความเป็นมาของขนมจีน จำนวน 3 ชั่วโมง
1.1 ประวัติขนมจีนทั่วไป
1.2 ประวัติขนมจีนหล่มเก่า
เรื่องที่ 2 วิธีการทำขนมจีนหล่มเก่า จำนวน 27 ชั่วโมง
2.1 วัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบสำหรับทำขนมจีนหล่มเก่า
2.2 วิธีการ และขั้นตอนการทำขนมจีนหล่มเก่า
2.3 การทำน้ำยา
2.4 การทำเครื่องเคียง
เรื่องที่ 3 การบรรจุภัณฑ์ จำนวน 9 ชั่วโมง
3.1 การออกแบบและบรรจุภัณฑ์
เรื่องที่ 4 การบริหารจัดการและการตลาด จำนวน 3 ชั่วโมง
4.1 วางแผน
4.2 เทคนิคการขาย
4.3 การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
เรื่องที่ 5 การให้บริการ จำนวน 8 ชั่วโมง
5.1 ความหมาย ความสำคัญของการให้บริการ
5.2 เทคนิคการการบริการสำหรับผู้ประกอบการ
5.3 การปฏิบัติตนในการให้บริการลูกค้า
——————————-


หลักสูตรการทำข้าวหลาม  น้ำหนาว
ความสำคัญ
 k6                                                                                 ปัจจุบันประชาชนอำเภอน้ำหนาว มีการประกอบอาชีพเสริม ด้วยการทำข้าวหลาม  โดยนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือไม้ไผ่ และข้าวไร่ (พันธ์พญาลืมแกง) มาทำเป็นข้าวหลาม เพื่อรับประทานและทำจำหน่าย เป็นสินค้าประจำท้องถิ่น นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมประเพณีเผาข้าวหลามประจำปีของอำเภอน้ำหนาว ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคมของทุกปีอีกด้วย


จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอาชีพเสริม
2. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวหลามน้ำหนาว และสามารถทำข้าวหลามได้
3. เพื่อส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ประเพณีเผาข้าวหลาม ประจำปีของอำเภอน้ำหนาว

วัตถุประสงค์
        1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวหลามน้ำหนาว
        2. เพื่อให้มีทักษะในการทำข้าวหลาม
        3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

เนื้อหาของหลักสูตร
ประกอบด้วยเนื้อหา 2 เรื่อง ดังนี้
1. วัสดุ อุปกรณ์ ในการทำข้าวหลาม
2. ขั้นตอนในการทำข้าวหลาม ไส้ต่าง ๆ

เวลาเรียน                                                                               
        ภาคทฤษฎี 3  ชั่วโมง
        ภาคปฏิบัติ  15 ชั่วโมง

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
         1. ใบความรู้เรื่องการทำข้าวหลามน้ำหนาว
         2. แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำข้าวหลามน้ำหนาว

กิจกรรมการเรียนรู้
           1. การเรียนรู้ทฤษฎี
           2. การฝึกปฏิบัติ
           3. ศึกษาดูงานแหล่งการเรียนรู้

การวัดและประเมินผล
             วิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย
             1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วม
             2. การประเมินชิ้นงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวหลามน้ำหนาว
2. ผู้เรียนสามารถทำข้าวหลามน้ำหนาวได้
3. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร
            เรื่องที่ 1. วัสดุอุปกรณ์ในการทำข้าวหลาม  จำนวน 5 ชั่วโมง วัสดุอุปกรณ์ในการทำข้าวหลาม ได้แก่ ไม้ไผ่ ข้าวเหนียว น้ำกะทิ เกลือป่น น้ำตาลทราย และเผือก/ถั่ว
            เรื่องที่ 2  ขั้นตอนการทำข้าวหลาม   จำนวน 13  ชั่วโมง
                                - การคัดเลือกชนิดไม้ไผ่
                                – การแช่ข้าวเหนียว
                                – การผสม น้ำกะทิ น้ำตาลทราย เกลือป่น เข้าด้วยกัน
                                - การนำข้าวเหนียว มาคลุกเคล้ากับส่วนผสม และใส่ไส้ชนิดต่าง ๆ
                                - การกรอกส่วนผสมใส่กระบอก
                                - การเผาข้าวหลาม
——————————-


หลักสูตร การทอผ้ามุก บ้านติ้ว
 ความสำคัญ
banอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร เช่นการทำนา ทำไร่ยาสูบ ปลูกผัก หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร มีการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ให้กับคนในชุมชน และตำบลบ้านติ้ว เป็นอีกหนึ่งตำบลในเขตพื้นที่อำเภอหล่มสักที่ประชาชนใช้เวลาว่างหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร โดยการรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพเสริม การทอผ้ามุก   ผ้ามุกเป็นผ้าทอพื้นเมืองที่มีกรรมวิธีการผลิตจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ของตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก และเป็นผ้าประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผ้าทอมือ ที่ผลิตจากฝ้าย ใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ผ้ามุกที่ผลิตขึ้นนิยมนำมาใช้ในการแต่งกายและตกแต่งในงานพิธีต่าง ๆ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นอย่างดี

จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความรักความสามัคคี ให้คนในชุมชน
2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความรู้ ความเข้าใจ และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้ามุกอำเภอหล่มสัก

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถทอผ้ามุกบ้านติ้ว ได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาการทอผ้ามุกบ้านติ้ว ได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้การทอผ้ามุกไปใช้ในการประกอบเป็นอาชีพได้
4. เพื่อให้ผู้เรียนอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้ามุกของตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก

เนื้อหาของหลักสูตร
ประกอบด้วยเนื้อหา  4 เรื่อง
1. ประวัติความเป็นมาของการทอผ้ามุกบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก
2. การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
3. ขั้นตอนและวิธีการทอผ้ามุก
4. การจัดการและการตลาด

เวลาเรียน
         หลักสูตรวิชาชีพ การทอผ้ามุกบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก ใช้เวลาเรียนทั้งหมด  100 ชั่วโมง
ภาคทฤษฎี  10 ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ  90 ชั่วโมง
  
แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน
1. ใบความรู้เรื่องการทอผ้ามุก ประกอบด้วย 4  เรื่อง
2. ศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้   

กิจกรรมการเรียนรู้
1. เรียนรู้ทฤษฎี
2. ฝึกปฏิบัติจริง จากผู้มีประสบการณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น             

การวัดผลประเมินผลการเรียน
วิธีการวัดและประเมินผลการเรียน ประกอบด้วย
1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และ การมีส่วนร่วม
2. การสังเกตการปฏิบัติจริงในการทอผ้ามุก
3. ประเมินชิ้นงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 
1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการทอผ้ามุกและสามารถทอผ้ามุกบ้านติ้ว ได้อย่างมีคุณภาพ
2. ผู้เรียนมีการพัฒนาการทอผ้ามุกบ้านติ้ว ได้อย่างเหมาะสม
3. ผู้เรียนนำความรู้การทอผ้ามุกมาใช้ประกอบเป็นอาชีพได้
4. ผู้เรียนอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้ามุกของตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก

โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร
ประกอบด้วยเนื้อหา    4    เรื่อง   ดังนี้
เรื่องที่ 1  ประวัติความเป็นมาของการทอผ้ามุกหล่มสัก    จำนวน   2   ชั่วโมง
เรื่องที่ 2  การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ จำนวน  4   ชั่วโมง
2.1  การเลือกใช้วัตถุดิบและชนิดของด้าย
2.2  อุปกรณ์การทอผ้ามุก
 เรื่องที่ 3  ขั้นตอนและวิธีการทอผ้ามุก  จำนวน  90   ชั่วโมง
3.1 การกรอหลอดด้าย
3.2 การเดินด้าย
3.3 การร้อยด้าย
3.4 การคำนวณหน้าผ้า
3.5 การเก็บตะกรอ
3.6 วิธีการทอผ้าที่ได้คุณภาพ
 เรื่องที่ 4  การตลาด  จำนวน   4  ชั่วโมง
4.1 การจัดทำบัญชี รายรับ – รายจ่าย
4.2 การคำนวณต้นทุนการผลิต  กำไร
4.3 เทคนิคการจัดการและการตลาด
—————————-


หลักสูตรประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว
  ความสำคัญ
BannaFlower2_250ปัจจุบันดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการตกแต่งบ้านเรือน  ใช้ในงานพิธีต่าง ๆหรือเป็นของฝาก ของชำร่วย เนื่องจากเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สวยงาม ประณีต มีหลากหลายให้เลือก ดอกไม้ประดิษฐ์บางชนิดดูเหมือนของจริง มีความคงทน และราคาไม่แพง ดังนั้นการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัว จึงเป็นงานศิลปะที่ได้รับความนิยม สามารถทำเป็นงานอดิเรกหรือนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ เกิดทักษะการทำดอกไม้ประดิษฐ์
2. เพื่อให้ประชาชนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานประดิษฐ์
3. เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถทำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัวได้
2. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
  
เนื้อหาของหลักสูตร
       ประกอบด้วยเนื้อหา   2   เรื่อง  ดังนี้
1. เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ดอกไม้ จากผ้าใยบัว
2. การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัวชนิดต่าง ๆ
        
เวลาเรียน
หลักสูตรวิชาชีพศิลปะประดิษฐ์  ใช้เวลาเรียน  100  ชั่วโมง
ภาคทฤษฎี   10  ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ   90  ชั่วโมง

สื่อประกอบการเรียน
ใบความรู้เรื่องการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัว 9  ชนิด
1. การทำดอกบัวสาย
2. การทำดอกกุหลาบ
3. การทำดอกลิลลี่
4. การทำดอกหน้าวัว
5. การทำดอกกระเจียว
6. การทำดอกทิวลิป
7. การทำดอกบานชื่น
8. การทำดอกกล้วยไม้
9. การทำดอกชบา

กิจกรรมการเรียนรู้
1.  เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎี
2.  ฝึกปฏิบัติ
3.  ศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้

การวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลการเรียน
1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนและการมีส่วนร่วม
2. ผลงาน(ชิ้นงาน)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจงานศิลปประดิษฐ์
2. ผู้เรียนมีทักษะในการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัวทั้ง 9  ชนิด ได้

โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร
ประกอบเนื้อหา  2  เรื่อง
เรื่องที่ 1  เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ประดิษฐ์ดอกไม้  จำนวน  10  ชั่วโมง
วัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ดอกไม้
-  กรรไกร
-  ครีมตัดลวด
-  ครีมดัดกลีบ
-  ผ้าใยบัว
-  เข็มสอย
-  ด้าย
-  เกสร
-  กาวลาเท็กซ์
-  ลวดไหวสีเบอร์ต่าง ๆ
เรื่องที่ 2  การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัวชนิดต่างๆ   จำนวน  90  ชั่วโมง
- การทำดอกบัวสาย
- การทำดอกกุหลาบ
- การทำดอกลิลลี่
- การทำดอกหน้าวัว
- การทำดอกกระเจียว
- การทำดอกทิวลิป
- การทำดอกบานชื่น
- การทำดอกกล้วยไม้
- การทำดอกชบา

———————————–
อ้างอิงบทความนี้ : อัญชลี  ธรรมะวิถีกุลhttp://panchalee.wordpress.com/2009/10/06/local_curricula/
********************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น