ที่มา : หนังสือวารสารการศึกษาปฐมวัย หน้าที่ 40 ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม 2546
โดย : รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ, สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก
การเรียนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการได้เข้าเรียนรู้สังคมและสิ่งแวดล้อมของชั้นเรียนเด็กปกติ เพื่อให้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ จากการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและจากการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน นโยบายการศึกษาชาติได้ให้โอกาสทางการศึกษาแก่คนไทยทุกคนให้สามารถเรียนได้ในทุกที่ที่เปิดเรียนทั้งคนปกติและคนไม่ปกติซึ่งหมายถึงผู้พิการ ผู้มีปัญหาสุขภาพ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งนี้ด้วยจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางสังคม เกิดการยอมรับในความเป็นมนุษย์ สร้างความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันนับเป็นนโยบายการศึกษาที่สร้างสรรค์ความเป็นคน และความสมบูรณ์ทางสังคม แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้กำหนดนโยบายทางการศึกษาต้องคำนึงถึงและนำมาพิจารณาให้เป็นรูปธรรมคือ การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการสร้างความเป็นคนที่เข้าใจกันและเมตต่านั้นต้องเกิดจากการพัฒนากรอบการดำเนินงานอย่างมีแบบแผน มิใช่เพียงเพื่อได้กระทำ แต่ต้องเป็นการกระทำผ่านการพิจารณาถึงมาตรฐานการศึกษา และสร้างความเป็นไปได้ที่มีคุณค่าแท้จริงด้วย มิฉะนั้นนโยบายที่กำหนดมานั้นมีปัญหาเมื่อนำไปปฏิบัติ ขาดคุณค่าตามเจตนาการศึกษาของประเทศ
อะไรคือการเรียนร่วม
การเรียนร่วมเป็นนโบายการศึกษาที่กำเนิดในช่วงของการปฏิรูปการศึกษา แล้วมีการผันตัวอย่างรวดเร็วโดยล้อตามการเปลี่ยนแปลงของประเทศพัฒนา การเรียนร่วมเป็นนโยบายทางสังคม เป็นกระบวนการที่จัดขึ้นสำหรับเด็กพิการรายบุคคล โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรอืพิการได้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษา นันทนาการและสังคมกับเด็กปกติในสังคมทั่วไป ซึ่งการเรียนร่วมทางการศึกษาปฐมวัยเน้นเจาะจงเฉพาะการให้เด็กที่บกพร่องและเด็กปกติได้ทำงานและเล่นด้วยกันในชั้นเรียนด้วยกัน (Williams and Fromberg. 1992 : 324) การเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติและบรรยากาศปกติใช้คำว่า Mainstreaming แต่มีลักษณะของเด็กที่เข้าเรียนร่วมหลายลักษณะ การจัดการเรียนร่วมจึงมีการใช้คำหลากหลายความหมายกล่าวคือ การเรียนร่วมที่ใช้คำว่า Mainstreaming หมายถึงการให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กพิการเด็กปัญญาอ่อน เข้ามาเรียนในชั้นเรียนปกติตามกระบวนการเรียนการสอน หลักสูตรและชั้นเรียนที่เด็กปกติทั่วไปเรียน เพื่อให้เด็กที่เข้ามาเรียนร่วมได้เรียนรู้สังคมและการศึกษาเพื่อปรับตัวได้ ไม่มีการปรับการจัดการศึกษาสิ่งใดเป็นพิเศษ ส่วนการเรียนร่วมที่ใช้คำว่า Inclusion และ Integration หมายถึงการเรียนร่วมเช่นกันแต่แตกต่างที่ประเภทเด็กที่เข้าเรียนและลักษณะการเรียนดังนี้ (Morrison, 2000 : 320-325)
• การเรียนร่วมของเด็กพิการ (Inclusion) หมายถึง การศึกษาที่เปิดโอกาสให้เด็กพิการเข้ามามีส่วนร่วมเรียนกับเด็กปกติทั่วไปในชั้นเรียนปกติ โดยเข้าเรียนเต็มเวลาหรือเข้ามาเรียนบางเวลา จุดประสงค์เพื่อให้เด็กพิการได้เรียนรู้สังคมและธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของคนปกติทั่วไป
• การเรียนร่วมของเด็กพัฒนาการช้า (Integration) เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีพัฒนาการอยู่ในระดับเกณฑ์เฉลี่ยของปกติหรือต่ำกว่าเล็กน้อย ที่สามารถเข้ามาเรียนร่วมในชั้นปกติเต็มเวลาหรือบางเวลาบางเรื่องได้ จุดประสงค์เพื่อให้เรียนรู้การปรับตัวเข้าสู่สังคมปกติ
จากลักษณะของการเรียนดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการเรียนร่วมคือการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการเข้าเรียนในกระบวนการเรียนการสอนตามปกติของเด็กทั่วไป โดยให้ทำกิจกรรมตามปกติในชั้นเรียน ไม่มีบริการพิเศษ ยกเว้นเด็กบางรายที่จำเป็นอาจต้องเข้าโปรแกรมพิเศษเพาะ เช่น การฝึกพูด หรือเด็กที่มีปัญหามากอาจเข้ามาเรียนร่วมกับเกปกติในบางเวลา บางกิจกรรมได้โดยใช้กระบวนการแบบธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่เป็นปกติทั่วไป
การเรียนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือเด็กพิการเข้ามาเรียนในชั้นเรียนกับเด็กปกติ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือเด็กพิการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาและปรับตนเองให้สามารถอยู่กับสังคมปกติได้ สาเหตุเนื่องมาจากแต่เดิมนั้นเชื่อว่าชั้นเรียนที่ดีที่สุดสำหรับเด็กพิการคือการศึกษาพิเศษ ซึ่งพบว่าไม่จริงเพราะปรากฏว่าเด็กที่มีปัญหาแต่ถูกทิ้งให้ต่อสู้ตามธรรมชาติแล้วปรับตัวเองได้ดีกว่า และสามารถดำเนินชีวิตได้ดีกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศผู้นำเด็กปัญญาอ่อน จึงคิดหารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีปัญหาใหม่ โดยเน้นให้เด็กสามารถบูรณาการการเรียนรู้สังคมและวิชาการให้กับเด็กมีปัญหาเช่น เด็กปัญหาอ่อน
จากแนวคิดนี้นักการศึกษาสหรัฐอเมริกาจึงเสนอให้มีการเรียนการสอนเด็กปัญญาอ่อนในชั้นเรียนปกติ โดยออกเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ในปี ค.ศ. 1975 กำหนดว่าการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิการต้องมีข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดนโยบายการศึกษานี้ให้เรียกว่า "การเรียนร่วมหรือ mainstreaming" ซึ่งหมายความว่าเด็กปัญญาอ่อนสามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติได้มิใช่เพื่อล าการปัญญาอ่อนแต่เชื่อว่าจะทำให้เด็กที่มีสติปัญญาต่ำหรือปัญาญาอ่อนสามารถปรับพฤติกรรมและปรับปรุงการดำรงชีวิตตนเองได้ดีกว่าการเรียนแต่ในกลุ่มของตนเอง (Roediger III, el. 1984 : 375 - 376) โรงเรียนและศูนย์เด็กที่เปิดการเรียนร่วมจะได้รับเงินกองทุนสนับสนุนจากรัฐบาล การจัดการเรียนการสอนนี้ห้ามแยกขั้นเรียนเฉพาะเด็ดขาด เว้นเสียแต่ว่าเด็กพิการนั้นมีความรุนแรงจนไม่สามารถจัดการบริการตามปกติได้ เพื่อป้องกันปัญหานี้เด็กผิดปกติทุกคนที่จะเข้าโรงเรียนได้ ต้องได้รับการประเมินภาพเพื่อวินิจฉัยการเข้าเรียนก่อนว่ามีความสามารถระดับใด ถ้าเขาสามารถเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนปกติได้จะเชิญให้ผู้ปกครองเข้ามาร่วมมือกับครูในการวางแผนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล (Individual Education Plan IEP) ในชั้นเรียนนั้น ๆ (Williams and Fromberg, 1992 : 325) ซึ่งต่อมาระยะหลังการจัดการเรียนร่วมได้เอื้อไปถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กมีความพิการหรือเด็กมีปัญหาอื่นด้วย สำหรับประเทศไทยการจัดการศึกษาแบบการเรียนร่วมได้กำหนดเป็นเพียงนโยบาย ส่วนการดำเนินการในทางปฏิบัติขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละหน่วยงานหรือโรงเรียน
จุดประสงค์ของการเรียนร่วม
ปัจจุบันสังคมไทยค่อนข้างคุ้นเคยกับการเรียนร่วมของเด็กมีปัญหาหรือเด็กพิการในชั้นเรียนปกติ และยอมรับมากขึ้น จุดประสงค์ของการเรียนร่วมเพื่อให้เด็กปฐมวัยที่บกพร่องซึ่งอาจมีปัญหาสุขภาพหรือความต้องการพิเศษหรือพิการได้รับประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสม โดยได้สัมผัสกับเด็กที่มีพัฒนาการตามปกติ เด็กปกติจะเป็นตัวอย่างการเรียนรู้ ทักษะพัฒนาการให้กับเด็กบกพร่องที่สามารถช่วยให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถพัฒนาตนเองได้ ในขณะเดียวกันเด็กปกติสามารถเรียนรู้ ยอมรับ เห็นคุณค่า และเข้าใจถึงความแตกต่างของคนด้วย (Williams and Fromberg, 1992 : 324-325) สิ่งที่เด็กพิการหรือมีความต้องการพิเศษจะได้จากการเรียนร่วมคือ
1. เรียนรู้สังคม และปรับตัวให้เข้ากับสังคมปกติได้อย่างมีความสุขและไม่เป็นปัญหาสังคมในอนาคต
2. สังคมและธรรมชาติการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติจะเป็นตัวกระตุ้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือพิการให้ฟื้นค้นสภาพได้มากที่สุด เด็กที่เข้าเรียนร่วมจะเกิดการรับรู้ มีการปรับตัวระหว่างการเรียนร่วม ภาวะนี้เรียกว่าสังคมบำบัด
3. ผลข้างเคียงที่ได้ตามมาคือเด็กปกติได้เรียนรู้และเข้าใจผู้ร่วมสังคมที่พิการ หรือมีความต้องการพิเศษได้
ประเภทของการเรียนร่วม
ดังกล่าวแล้วว่าการเรียนร่วมเป็นการเปิดโอกาสการศึกษาให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กพิการหรือมีปัญหาทางสติปัญญาได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนปกติและบรรยากาศปกติกับเด็กปกติ โดยเด็กที่เข้ามาเรียนร่วม ได้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กพิการ เด็กปัญญาอ่อน เด็กออทิสติก รวมทั้งเด็กมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งต่อไปนี้จะใช้คำว่าเด็กเรียนร่วมแทนความหมายถึงลักษณะของเด็กดังกล่าว
ปัญหาของการเรียนร่วมที่สำคัญอยู่ที่ระดับความรุนแรงของปัญหาของเด็กเรียนร่วมซึ่งมีผลต่อการรับเข้าเรียน การดูแลและการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น ปัญญาอ่อนสามารถจำแนกได้เป็น 4 ระดับ (Salkind et. Al, 1987) คือ
• ปัญญาอ่อนเล็กน้อย
• ปัญญาอ่อนปานกลาง
• ปัญญาอ่อนรุนแรง
• ปัญญาอ่อนรุนแรงมาก
ปัญญาอ่อนแต่ละระดับดังกล่าวมีความต้องการดูแลมากน้อยต่างกัน ซึ่งทำให้การจัดการเรียนร่วมแตกต่างกัน เด็กปัญญาอ่อนรุนแรงไม่สามารถอยู่ในห้องเรียนปกติได้เพราะต้องใช้ครูดูแลอย่างเฉพาะตามปัญหาของเด็กเด็กปัญญาอ่อนอาจเข้าร่วมเรียนได้ในบางเวลาตามปัญหาเด็กเรียนร่วมดังกล่าวทำให้จำแนกการเรียนร่วมเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การเรียนร่วมเต็มเวลา หมายถึงการจัดการศึกษาสำหรับเกที่เรียนร่วมเข้าเรียนในกระบวนการเรียนการสอนปกติในชั้นเรียนปกติ และเวลาปกติ จำแนกชั้นเรียนเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ชั้นเรียนปกติและการเรียนการสอนปกติ ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหาน้อยมีความสามารถในการเรียนและพร้อมในการเรียนทั้งวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม ตัวอย่าง เช่น เด็กปัญญาอ่อนเล็กน้อย เป็นต้น
2. ชั้นเรียนปกติแต่มีครูการศึกษาพิเศษเป็นที่ปรึกษา ชั้นเรียนแบบนี้ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีความพร้อมในการเรียนกับเด็กปกติ แต่มีปัญหาเฉพาะที่ต้องการพัฒนาเป็นพิเศษ ซึ่งครูปกติต้องได้รับความช่วยเหลือจากครูการศึกษาพิเศษมาช่วยในชั้นเรียนเป็นที่ปรึกษา หรือให้บริการเป็นบางเรื่อง บางกรณี เช่น การฝึกพูดสำหรับเด็กออทิสติก เป็นต้น
2. การเรียนร่วมบางเวลา ดังกล่าวแล้วว่าเด็กเรียนร่วมนอกจากมีปัญหาที่แตกต่างกันแล้วระดับความรุนแรงของปัญหายังแตกต่างด้วยทำให้การจัดการศฯกษาสำหรับเด็กเรียนร่วมบางครั้งไม่สามารถจัดให้เด็กเรียนร่วมเข้าเรียนเต็มเวลาได้ เด็กเรียนร่วมจะเข้ามาเรียนร่วมบางเวลาดังนี้
1. เข้าเรียนในชั้นเรียนปกติบางชั่วโมงหรือบางกิจกรรม วิชาที่เด็กเรียนร่วมเข้าเรียนจะเป็นรายวิชาที่เนื้อหาไม่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสังคม เช่น พลศึกษา ศิลปะหรือกิจกรรมนอกหลักสูตร หรือในกรณีที่เด็กเรียนร่วมยังมีปัญหาการปรับตัว การเข้าเรียนจะต้องจัดเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อให้เด็กเรียนร่วมได้ปรับตัวได้และไม่มีปัญหาการควบคุมชั้นเรียน
2. ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติการจัดการเรียนการสอนแบบนี้เป็นการจัดชั้นเรียนพิเศษเฉพาะเด็กเรียนร่วม ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหารุนแรง หรือต้องการการดูแลพิเศษเด็กเรียนร่วมจะถูกแยกห้องเรียน ไม่ปะปนกับเด็กปกติ แต่ชั้นเรียนนั้นยังอยู่ในโรงเรียนปกติมีครูการศึกษาพิเศษประจำ เด็กจะไม่ออกมาเรียนร่วมกับเด็กปกติ แต่เรียนในห้องเรียนตัวเองอย่างน้อยได้สัมผัสบรรยากาศของโรงเรียนปกติ การจัดชั้นเรียนแบบนี้เชื่อว่าดีกว่าการจัดชั้นเรียนแบบแยกเอกเทศ ไม่อยู่โรงเรียนเด็กพิเศษตามแบบเดิม ทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้สภาพสังคมจริง และเด็กปรับตัวได้ยากเพราะไม่เคยเห็นสังคมปกติ ซึ่งอย่างน้อยการมีห้องเรียนอยู่ในโรงเรียนปกติยังสร้างการเรียนรู้สังคมได้
การจัดชั้นเรียนสำหรับเด็กเรียนร่วม
ห้องเรียนเป็นบริบทของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของความเป็นเพื่อนที่สำคัญของเด็กเด็กจะเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อน รู้จักการปรับตัวรู้จักให้ รู้จักตนเอง และรู้จักผู้อื่น แม้แต่เด็กปฐมวัยก็สามารถแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เช่น การให้ตุ๊กตากัน ความสัมพันธ์อาจขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของเด็ก เป็นหน้าที่ของครูและผู้ปกติที่ต้องช่วยสร้างเด็กให้รู้จักมิตรภาพสามารถเข้ากลุ่มเพื่อนได้และแก้ปัญหาได้เป็นสำคัญ (Williams and Fromberg, 1992 : 262) การจัดห้องเรียนจึงมีความสำคัญสำหรับการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการมาเรียนร่วมกับเพื่อนปกติ
สิ่งหนึ่งที่ต้องการพิจารณาถึงการจัดห้องเรียนร่วมคือเด็กเรียนร่วมทุกคน มิได้หมายความว่าจะเข้าชั้นเรียนปกติได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับระดับความพิการ วุฒิภาวะ ความพร้อมทางอารมณ์และสังคมของเด็ก ถ้าเด็กพิการน้อยความพร้อมสูงก็จะสามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนกับเด็กปกติได้ ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีปัญหาทางปัญหากลุ่มปัญญาอ่อน เด็กที่จะเข้าเรียนปกติได้ต้องเป็นเด็กที่มี IQ ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย เป็นกลุ่มปัญญาอ่อนน้อย ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายอ่อนรุนแรงที่ต้องดูแลพิเศษ เป็นต้น การจัดากรเรียนร่วมที่มีประสิทธิภาพห้องเรียนนั้นต้องสอดคล้องกับศักยภาพของเด็กเรียนร่วม และเด็กในชั้นเรียนปกติ เพื่อป้องกันอาการเครียดที่เกิดจากความไม่พร้อมของเด็ก เมื่อต้องการสร้างเสริมความสามารถของเด็กเรียนร่วม และประโยชน์ที่เด็กพึงได้รับการคัดเลือกเด็กเข้าชั้นเรียนและจัดชั้นเรียนมีความหมายมาก
ปรัชญาของการเรียนร่วมมุ่งถึงบรรยากาศทางสังคม และสิ่งแวดล้อมปกติที่เด็กเรียนร่วมต้องเรียนรู้ ซึ่งถ้าเหมาะสมกับเด็ก เด็กจะได้ประโยชน์มากทั้งเด็กปกติและเด็กเรียนร่วม ผลที่ตามมาคือความง่ายสำหรับครูในการจัดชั้นเรียนให้สอดคล้องกับลักษณะเด็ก ประโยชน์ทางการศึกษาและปรัชญาการเรียนร่วม เราสามารถจัดชั้นเรียกออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะที่ 1 ห้องเรียนปกติ เป็นชั้นเรียนที่ไม่ต้องมีการปรับหรือเปลี่ยนสิ่งใดเป็นพิเศษ เด็กเรียนร่วมสามารถเข้าเรียนได้เหมือนเด็กปกติ แต่เด็กเรียนร่วมที่จะเข้าชั้นเรียนปกติได้นี้ต้องมีปัญหาความต้องการพิเศษน้อยมากและพร้อมยอมรับกระบวนการเรียนตามปกติของชั้นเรียนได้
ลักษณะที่ 2 ห้องเรียนบำบัด เปิดสอนโดยมีชั่วโมงพิเศษ ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหาเฉพาะที่ต้องได้รับการฝึกบางอย่างเป็นพิเศษ เด็กเรียนร่วมกลุ่มนี้จะมีชั่วโมงและวิชาแยกไปเรียนพิเศษเพื่อฝึกและเรียนเฉพาะเช่น ห้องวจีบำบัดใช้สำหรับการสอนภาษาให้แก่เด็กเรียนร่วม เป็นต้น
ลักษณะที่ 3 ห้องเรียนพิเศษ เป็นห้องเรียนเฉพาะที่จัดสำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหามาก ต้องการครูการศึกษาพิเศษ และบรรยากาศการเรียนเฉพาะ เด็กห้องเรียนพิเศษรวมถึงเด็กเรียนร่วมที่สามารถออกมาเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กปกติได้ในบางกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้สังคมปกติ
โดย : รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ, สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก
การเรียนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการได้เข้าเรียนรู้สังคมและสิ่งแวดล้อมของชั้นเรียนเด็กปกติ เพื่อให้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ จากการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและจากการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน นโยบายการศึกษาชาติได้ให้โอกาสทางการศึกษาแก่คนไทยทุกคนให้สามารถเรียนได้ในทุกที่ที่เปิดเรียนทั้งคนปกติและคนไม่ปกติซึ่งหมายถึงผู้พิการ ผู้มีปัญหาสุขภาพ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งนี้ด้วยจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางสังคม เกิดการยอมรับในความเป็นมนุษย์ สร้างความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันนับเป็นนโยบายการศึกษาที่สร้างสรรค์ความเป็นคน และความสมบูรณ์ทางสังคม แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้กำหนดนโยบายทางการศึกษาต้องคำนึงถึงและนำมาพิจารณาให้เป็นรูปธรรมคือ การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการสร้างความเป็นคนที่เข้าใจกันและเมตต่านั้นต้องเกิดจากการพัฒนากรอบการดำเนินงานอย่างมีแบบแผน มิใช่เพียงเพื่อได้กระทำ แต่ต้องเป็นการกระทำผ่านการพิจารณาถึงมาตรฐานการศึกษา และสร้างความเป็นไปได้ที่มีคุณค่าแท้จริงด้วย มิฉะนั้นนโยบายที่กำหนดมานั้นมีปัญหาเมื่อนำไปปฏิบัติ ขาดคุณค่าตามเจตนาการศึกษาของประเทศ
อะไรคือการเรียนร่วม
การเรียนร่วมเป็นนโบายการศึกษาที่กำเนิดในช่วงของการปฏิรูปการศึกษา แล้วมีการผันตัวอย่างรวดเร็วโดยล้อตามการเปลี่ยนแปลงของประเทศพัฒนา การเรียนร่วมเป็นนโยบายทางสังคม เป็นกระบวนการที่จัดขึ้นสำหรับเด็กพิการรายบุคคล โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรอืพิการได้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษา นันทนาการและสังคมกับเด็กปกติในสังคมทั่วไป ซึ่งการเรียนร่วมทางการศึกษาปฐมวัยเน้นเจาะจงเฉพาะการให้เด็กที่บกพร่องและเด็กปกติได้ทำงานและเล่นด้วยกันในชั้นเรียนด้วยกัน (Williams and Fromberg. 1992 : 324) การเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติและบรรยากาศปกติใช้คำว่า Mainstreaming แต่มีลักษณะของเด็กที่เข้าเรียนร่วมหลายลักษณะ การจัดการเรียนร่วมจึงมีการใช้คำหลากหลายความหมายกล่าวคือ การเรียนร่วมที่ใช้คำว่า Mainstreaming หมายถึงการให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กพิการเด็กปัญญาอ่อน เข้ามาเรียนในชั้นเรียนปกติตามกระบวนการเรียนการสอน หลักสูตรและชั้นเรียนที่เด็กปกติทั่วไปเรียน เพื่อให้เด็กที่เข้ามาเรียนร่วมได้เรียนรู้สังคมและการศึกษาเพื่อปรับตัวได้ ไม่มีการปรับการจัดการศึกษาสิ่งใดเป็นพิเศษ ส่วนการเรียนร่วมที่ใช้คำว่า Inclusion และ Integration หมายถึงการเรียนร่วมเช่นกันแต่แตกต่างที่ประเภทเด็กที่เข้าเรียนและลักษณะการเรียนดังนี้ (Morrison, 2000 : 320-325)
• การเรียนร่วมของเด็กพิการ (Inclusion) หมายถึง การศึกษาที่เปิดโอกาสให้เด็กพิการเข้ามามีส่วนร่วมเรียนกับเด็กปกติทั่วไปในชั้นเรียนปกติ โดยเข้าเรียนเต็มเวลาหรือเข้ามาเรียนบางเวลา จุดประสงค์เพื่อให้เด็กพิการได้เรียนรู้สังคมและธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของคนปกติทั่วไป
• การเรียนร่วมของเด็กพัฒนาการช้า (Integration) เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีพัฒนาการอยู่ในระดับเกณฑ์เฉลี่ยของปกติหรือต่ำกว่าเล็กน้อย ที่สามารถเข้ามาเรียนร่วมในชั้นปกติเต็มเวลาหรือบางเวลาบางเรื่องได้ จุดประสงค์เพื่อให้เรียนรู้การปรับตัวเข้าสู่สังคมปกติ
จากลักษณะของการเรียนดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการเรียนร่วมคือการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการเข้าเรียนในกระบวนการเรียนการสอนตามปกติของเด็กทั่วไป โดยให้ทำกิจกรรมตามปกติในชั้นเรียน ไม่มีบริการพิเศษ ยกเว้นเด็กบางรายที่จำเป็นอาจต้องเข้าโปรแกรมพิเศษเพาะ เช่น การฝึกพูด หรือเด็กที่มีปัญหามากอาจเข้ามาเรียนร่วมกับเกปกติในบางเวลา บางกิจกรรมได้โดยใช้กระบวนการแบบธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่เป็นปกติทั่วไป
การเรียนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือเด็กพิการเข้ามาเรียนในชั้นเรียนกับเด็กปกติ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือเด็กพิการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาและปรับตนเองให้สามารถอยู่กับสังคมปกติได้ สาเหตุเนื่องมาจากแต่เดิมนั้นเชื่อว่าชั้นเรียนที่ดีที่สุดสำหรับเด็กพิการคือการศึกษาพิเศษ ซึ่งพบว่าไม่จริงเพราะปรากฏว่าเด็กที่มีปัญหาแต่ถูกทิ้งให้ต่อสู้ตามธรรมชาติแล้วปรับตัวเองได้ดีกว่า และสามารถดำเนินชีวิตได้ดีกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศผู้นำเด็กปัญญาอ่อน จึงคิดหารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีปัญหาใหม่ โดยเน้นให้เด็กสามารถบูรณาการการเรียนรู้สังคมและวิชาการให้กับเด็กมีปัญหาเช่น เด็กปัญหาอ่อน
จากแนวคิดนี้นักการศึกษาสหรัฐอเมริกาจึงเสนอให้มีการเรียนการสอนเด็กปัญญาอ่อนในชั้นเรียนปกติ โดยออกเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ในปี ค.ศ. 1975 กำหนดว่าการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิการต้องมีข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดนโยบายการศึกษานี้ให้เรียกว่า "การเรียนร่วมหรือ mainstreaming" ซึ่งหมายความว่าเด็กปัญญาอ่อนสามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติได้มิใช่เพื่อล าการปัญญาอ่อนแต่เชื่อว่าจะทำให้เด็กที่มีสติปัญญาต่ำหรือปัญาญาอ่อนสามารถปรับพฤติกรรมและปรับปรุงการดำรงชีวิตตนเองได้ดีกว่าการเรียนแต่ในกลุ่มของตนเอง (Roediger III, el. 1984 : 375 - 376) โรงเรียนและศูนย์เด็กที่เปิดการเรียนร่วมจะได้รับเงินกองทุนสนับสนุนจากรัฐบาล การจัดการเรียนการสอนนี้ห้ามแยกขั้นเรียนเฉพาะเด็ดขาด เว้นเสียแต่ว่าเด็กพิการนั้นมีความรุนแรงจนไม่สามารถจัดการบริการตามปกติได้ เพื่อป้องกันปัญหานี้เด็กผิดปกติทุกคนที่จะเข้าโรงเรียนได้ ต้องได้รับการประเมินภาพเพื่อวินิจฉัยการเข้าเรียนก่อนว่ามีความสามารถระดับใด ถ้าเขาสามารถเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนปกติได้จะเชิญให้ผู้ปกครองเข้ามาร่วมมือกับครูในการวางแผนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล (Individual Education Plan IEP) ในชั้นเรียนนั้น ๆ (Williams and Fromberg, 1992 : 325) ซึ่งต่อมาระยะหลังการจัดการเรียนร่วมได้เอื้อไปถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กมีความพิการหรือเด็กมีปัญหาอื่นด้วย สำหรับประเทศไทยการจัดการศึกษาแบบการเรียนร่วมได้กำหนดเป็นเพียงนโยบาย ส่วนการดำเนินการในทางปฏิบัติขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละหน่วยงานหรือโรงเรียน
จุดประสงค์ของการเรียนร่วม
ปัจจุบันสังคมไทยค่อนข้างคุ้นเคยกับการเรียนร่วมของเด็กมีปัญหาหรือเด็กพิการในชั้นเรียนปกติ และยอมรับมากขึ้น จุดประสงค์ของการเรียนร่วมเพื่อให้เด็กปฐมวัยที่บกพร่องซึ่งอาจมีปัญหาสุขภาพหรือความต้องการพิเศษหรือพิการได้รับประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสม โดยได้สัมผัสกับเด็กที่มีพัฒนาการตามปกติ เด็กปกติจะเป็นตัวอย่างการเรียนรู้ ทักษะพัฒนาการให้กับเด็กบกพร่องที่สามารถช่วยให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถพัฒนาตนเองได้ ในขณะเดียวกันเด็กปกติสามารถเรียนรู้ ยอมรับ เห็นคุณค่า และเข้าใจถึงความแตกต่างของคนด้วย (Williams and Fromberg, 1992 : 324-325) สิ่งที่เด็กพิการหรือมีความต้องการพิเศษจะได้จากการเรียนร่วมคือ
1. เรียนรู้สังคม และปรับตัวให้เข้ากับสังคมปกติได้อย่างมีความสุขและไม่เป็นปัญหาสังคมในอนาคต
2. สังคมและธรรมชาติการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติจะเป็นตัวกระตุ้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือพิการให้ฟื้นค้นสภาพได้มากที่สุด เด็กที่เข้าเรียนร่วมจะเกิดการรับรู้ มีการปรับตัวระหว่างการเรียนร่วม ภาวะนี้เรียกว่าสังคมบำบัด
3. ผลข้างเคียงที่ได้ตามมาคือเด็กปกติได้เรียนรู้และเข้าใจผู้ร่วมสังคมที่พิการ หรือมีความต้องการพิเศษได้
ประเภทของการเรียนร่วม
ดังกล่าวแล้วว่าการเรียนร่วมเป็นการเปิดโอกาสการศึกษาให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กพิการหรือมีปัญหาทางสติปัญญาได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนปกติและบรรยากาศปกติกับเด็กปกติ โดยเด็กที่เข้ามาเรียนร่วม ได้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กพิการ เด็กปัญญาอ่อน เด็กออทิสติก รวมทั้งเด็กมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งต่อไปนี้จะใช้คำว่าเด็กเรียนร่วมแทนความหมายถึงลักษณะของเด็กดังกล่าว
ปัญหาของการเรียนร่วมที่สำคัญอยู่ที่ระดับความรุนแรงของปัญหาของเด็กเรียนร่วมซึ่งมีผลต่อการรับเข้าเรียน การดูแลและการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น ปัญญาอ่อนสามารถจำแนกได้เป็น 4 ระดับ (Salkind et. Al, 1987) คือ
• ปัญญาอ่อนเล็กน้อย
• ปัญญาอ่อนปานกลาง
• ปัญญาอ่อนรุนแรง
• ปัญญาอ่อนรุนแรงมาก
ปัญญาอ่อนแต่ละระดับดังกล่าวมีความต้องการดูแลมากน้อยต่างกัน ซึ่งทำให้การจัดการเรียนร่วมแตกต่างกัน เด็กปัญญาอ่อนรุนแรงไม่สามารถอยู่ในห้องเรียนปกติได้เพราะต้องใช้ครูดูแลอย่างเฉพาะตามปัญหาของเด็กเด็กปัญญาอ่อนอาจเข้าร่วมเรียนได้ในบางเวลาตามปัญหาเด็กเรียนร่วมดังกล่าวทำให้จำแนกการเรียนร่วมเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การเรียนร่วมเต็มเวลา หมายถึงการจัดการศึกษาสำหรับเกที่เรียนร่วมเข้าเรียนในกระบวนการเรียนการสอนปกติในชั้นเรียนปกติ และเวลาปกติ จำแนกชั้นเรียนเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ชั้นเรียนปกติและการเรียนการสอนปกติ ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหาน้อยมีความสามารถในการเรียนและพร้อมในการเรียนทั้งวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม ตัวอย่าง เช่น เด็กปัญญาอ่อนเล็กน้อย เป็นต้น
2. ชั้นเรียนปกติแต่มีครูการศึกษาพิเศษเป็นที่ปรึกษา ชั้นเรียนแบบนี้ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีความพร้อมในการเรียนกับเด็กปกติ แต่มีปัญหาเฉพาะที่ต้องการพัฒนาเป็นพิเศษ ซึ่งครูปกติต้องได้รับความช่วยเหลือจากครูการศึกษาพิเศษมาช่วยในชั้นเรียนเป็นที่ปรึกษา หรือให้บริการเป็นบางเรื่อง บางกรณี เช่น การฝึกพูดสำหรับเด็กออทิสติก เป็นต้น
2. การเรียนร่วมบางเวลา ดังกล่าวแล้วว่าเด็กเรียนร่วมนอกจากมีปัญหาที่แตกต่างกันแล้วระดับความรุนแรงของปัญหายังแตกต่างด้วยทำให้การจัดการศฯกษาสำหรับเด็กเรียนร่วมบางครั้งไม่สามารถจัดให้เด็กเรียนร่วมเข้าเรียนเต็มเวลาได้ เด็กเรียนร่วมจะเข้ามาเรียนร่วมบางเวลาดังนี้
1. เข้าเรียนในชั้นเรียนปกติบางชั่วโมงหรือบางกิจกรรม วิชาที่เด็กเรียนร่วมเข้าเรียนจะเป็นรายวิชาที่เนื้อหาไม่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสังคม เช่น พลศึกษา ศิลปะหรือกิจกรรมนอกหลักสูตร หรือในกรณีที่เด็กเรียนร่วมยังมีปัญหาการปรับตัว การเข้าเรียนจะต้องจัดเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อให้เด็กเรียนร่วมได้ปรับตัวได้และไม่มีปัญหาการควบคุมชั้นเรียน
2. ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติการจัดการเรียนการสอนแบบนี้เป็นการจัดชั้นเรียนพิเศษเฉพาะเด็กเรียนร่วม ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหารุนแรง หรือต้องการการดูแลพิเศษเด็กเรียนร่วมจะถูกแยกห้องเรียน ไม่ปะปนกับเด็กปกติ แต่ชั้นเรียนนั้นยังอยู่ในโรงเรียนปกติมีครูการศึกษาพิเศษประจำ เด็กจะไม่ออกมาเรียนร่วมกับเด็กปกติ แต่เรียนในห้องเรียนตัวเองอย่างน้อยได้สัมผัสบรรยากาศของโรงเรียนปกติ การจัดชั้นเรียนแบบนี้เชื่อว่าดีกว่าการจัดชั้นเรียนแบบแยกเอกเทศ ไม่อยู่โรงเรียนเด็กพิเศษตามแบบเดิม ทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้สภาพสังคมจริง และเด็กปรับตัวได้ยากเพราะไม่เคยเห็นสังคมปกติ ซึ่งอย่างน้อยการมีห้องเรียนอยู่ในโรงเรียนปกติยังสร้างการเรียนรู้สังคมได้
การจัดชั้นเรียนสำหรับเด็กเรียนร่วม
ห้องเรียนเป็นบริบทของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของความเป็นเพื่อนที่สำคัญของเด็กเด็กจะเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อน รู้จักการปรับตัวรู้จักให้ รู้จักตนเอง และรู้จักผู้อื่น แม้แต่เด็กปฐมวัยก็สามารถแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เช่น การให้ตุ๊กตากัน ความสัมพันธ์อาจขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของเด็ก เป็นหน้าที่ของครูและผู้ปกติที่ต้องช่วยสร้างเด็กให้รู้จักมิตรภาพสามารถเข้ากลุ่มเพื่อนได้และแก้ปัญหาได้เป็นสำคัญ (Williams and Fromberg, 1992 : 262) การจัดห้องเรียนจึงมีความสำคัญสำหรับการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการมาเรียนร่วมกับเพื่อนปกติ
สิ่งหนึ่งที่ต้องการพิจารณาถึงการจัดห้องเรียนร่วมคือเด็กเรียนร่วมทุกคน มิได้หมายความว่าจะเข้าชั้นเรียนปกติได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับระดับความพิการ วุฒิภาวะ ความพร้อมทางอารมณ์และสังคมของเด็ก ถ้าเด็กพิการน้อยความพร้อมสูงก็จะสามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนกับเด็กปกติได้ ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีปัญหาทางปัญหากลุ่มปัญญาอ่อน เด็กที่จะเข้าเรียนปกติได้ต้องเป็นเด็กที่มี IQ ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย เป็นกลุ่มปัญญาอ่อนน้อย ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายอ่อนรุนแรงที่ต้องดูแลพิเศษ เป็นต้น การจัดากรเรียนร่วมที่มีประสิทธิภาพห้องเรียนนั้นต้องสอดคล้องกับศักยภาพของเด็กเรียนร่วม และเด็กในชั้นเรียนปกติ เพื่อป้องกันอาการเครียดที่เกิดจากความไม่พร้อมของเด็ก เมื่อต้องการสร้างเสริมความสามารถของเด็กเรียนร่วม และประโยชน์ที่เด็กพึงได้รับการคัดเลือกเด็กเข้าชั้นเรียนและจัดชั้นเรียนมีความหมายมาก
ปรัชญาของการเรียนร่วมมุ่งถึงบรรยากาศทางสังคม และสิ่งแวดล้อมปกติที่เด็กเรียนร่วมต้องเรียนรู้ ซึ่งถ้าเหมาะสมกับเด็ก เด็กจะได้ประโยชน์มากทั้งเด็กปกติและเด็กเรียนร่วม ผลที่ตามมาคือความง่ายสำหรับครูในการจัดชั้นเรียนให้สอดคล้องกับลักษณะเด็ก ประโยชน์ทางการศึกษาและปรัชญาการเรียนร่วม เราสามารถจัดชั้นเรียกออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะที่ 1 ห้องเรียนปกติ เป็นชั้นเรียนที่ไม่ต้องมีการปรับหรือเปลี่ยนสิ่งใดเป็นพิเศษ เด็กเรียนร่วมสามารถเข้าเรียนได้เหมือนเด็กปกติ แต่เด็กเรียนร่วมที่จะเข้าชั้นเรียนปกติได้นี้ต้องมีปัญหาความต้องการพิเศษน้อยมากและพร้อมยอมรับกระบวนการเรียนตามปกติของชั้นเรียนได้
ลักษณะที่ 2 ห้องเรียนบำบัด เปิดสอนโดยมีชั่วโมงพิเศษ ใช้สำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหาเฉพาะที่ต้องได้รับการฝึกบางอย่างเป็นพิเศษ เด็กเรียนร่วมกลุ่มนี้จะมีชั่วโมงและวิชาแยกไปเรียนพิเศษเพื่อฝึกและเรียนเฉพาะเช่น ห้องวจีบำบัดใช้สำหรับการสอนภาษาให้แก่เด็กเรียนร่วม เป็นต้น
ลักษณะที่ 3 ห้องเรียนพิเศษ เป็นห้องเรียนเฉพาะที่จัดสำหรับเด็กเรียนร่วมที่มีปัญหามาก ต้องการครูการศึกษาพิเศษ และบรรยากาศการเรียนเฉพาะ เด็กห้องเรียนพิเศษรวมถึงเด็กเรียนร่วมที่สามารถออกมาเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กปกติได้ในบางกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้สังคมปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น