เลื่อน

นายสิทธิศักดิ์ ปะวันเณ นิสิตชั้นปีที่ 2 รหัส 53010515009 สาขาการศึกษาพิเศษ SED คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การศึกษาแบบ วอลดอร์ฟ


1.การศึกษาแบบ  วอลดอร์ฟ คืออะไร
แนวคิดการศึกษา วอลดอร์ฟ คือ  การช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและ แนวทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามกำลังความสามารถของตน  แต่มนุษย์จะบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนไม่ได้  ถ้าเขายังไม่มีโอกาสได้สัมผัสหรือค้นพบส่วนต่างๆ หลายส่วนในตนเอง   ด้วยเหตุนี้การศึกษา วอลดอร์ฟ จึงเน้นการศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล   การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ไม่ใช่เพื่อให้มนุษย์ยึดตนเอง (อัตตา)แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ปรัชญา เน้นความสำคัญของการสร้างสมดุลใน สาม วิถีทางที่บุคคลสัมพันธ์กับโลกคือผ่านกิจกรรมทางกาย ผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกและผ่านการคิดการศึกษา วอลดอร์ฟ มุ่งพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนและให้เด็กได้ใช้ พลังทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา ด้านศิลปะและด้านการปฎิบัติอย่างพอเหมาะ
การศึกษาแบบ วอลดอร์ฟ คือการศึกษาที่มีใช้กันในหลายแห่งทั่วโลก    เป็นกลุ่มการศึกษาเอกชนที่เติบโตเร็วมาก  ไม่มีระบบการบริหารแบบรวมศูนย์   แต่ละแห่งล้วนเป็นอิสระต่อกัน  ขณะเดียวกันก็มีการให้การสนับสนุนกันและกัน ในทรัพยากรต่างๆ เอกสารวิชาการ  การจัดการประชุม
2. อะไรคือ จุดเด่นของการศึกษาแบบ วอลดอร์ฟ
คำตอบที่ดีที่สุดคือ การศึกษา วอลดอร์ฟ เป็นการสร้างตัวตนของแต่ละคนเพื่อเข้าใจในชีวิตของตัวเอง
เป้าหมายของการศึกษา วอลดอร์ฟ คือ  การให้การศึกษาแก่เด็กแบบองค์รวม ทั้ง Head Heart และ Hand  การจัดแผนการเรียนการสอน เป็นการพัฒนาไปตามช่วงอายุ และสร้างสมดุลย์ระหว่างวิชาการ  ศิลปะและการฝึกฝนด้านการปฏิบัติ
หลักการทั่วไปของโรงเรียน วอลดอร์ฟ มีอาทิเช่น    วิชาการจะยังไม่ถูกสอนในช่วงปีแรกๆของการเรียนเช่นในชั้นอนุบาล  และมีวิชาการเพียงไม่มากในชั้นประถม 1   การอ่านเริ่มสอนในชั้นประถม 2    ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสอนแบบค่อยป็นค่อยไป ในระหว่างช่วงประถม 1-8 นักเรียนจะมีครูประจำชั้นคนเดียวกันตลอด 8 ปี
กิจกรรมและวิชาที่เป็นกิจกรรมประกอบหรือวิชาเสริม  ในโรงเรียนกระแสหลัก อาทิเช่น ศิลปะ ดนตรี การเกษตร และภาษาต่างประเทศ ( 2 ภาษา)  แต่ในโรงเรียน วอลดอร์ฟ กลับถือเป็นวิชาแกนกลาง    ในตลอดช่วงชั้นต้นๆ  ทุกวิชาจะถูกสอนผ่านสื่อทางศิลปะ  เพราะเด็กจะรับรู้ได้ดีกว่าการสอนแบบแห้งๆ ไม่มีตำราเรียน โดยเฉพาะในห้าชั้นปีแรกของนักเรียน  เด็กๆแต่ละคนจะมี Main lesson book  ซึ่งเป็นสมุดงานประจำตัวที่เด็กจะเติมแต่งในตลอดการเรียนของปี    เด็กทำหน้าที่สร้างตำราเรียนประจำตัวเอง ที่เด็กสามารถบันทึก ประสบการณ์ต่างๆที่เด็กได้เรียนไป    ส่วนในชั้นเด็กโต ก็จะใช้ตำราเรียนเป็นเพียงการเสริม Main lesson work
การเรียนในโรงเรียน วอลดอร์ฟ ไม่มีกิจกรรมการแข่งขัน  ไม่มีการให้คะแนนกับเด็กในระดับประถมต้น    ครูจะใช้วิธีการเขียนบันทึกประเมินตัวเด็กเมื่อจบการเรียนในแต่ละปีการศึกษา
โรงเรียน วอลดอร์ฟ ไม่เห็นด้วยกับการใช้เครื่องมือทางอิเล็คโทรนิค   โดยเฉพาะโทรทัศน์
3. หลักสูตรการสอน วอลดอร์ฟ มีลักษณะอย่างไร
หลักสูตรโรงเรียน วอลดอร์ฟ คำนึงถึงภาพรวมทั้งชีวิตของมนุษย์ตอบสนองต่อธรรมชาติในแต่ละช่วงวัยของเด็ก บำรุงเลี้ยงจินตนาการของเด็กท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน ดร.สไตเนอร์คิดว่าโรงเรียนต้องเอาใจใส่ต่อความต้องการของเด็กมากว่าความ ต้องการหรือเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้หรือแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจ โรงเรียน วอลดอร์ฟ ไม่ใช่สถานที่ผลิตคนเพื่อป้อนตลาดแรงงาน แต่เป็นสถานที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และมีอิสระในการสอน ทำนุบำรุงลักษณะปัจเจกของเด็กแต่ละคนให้เด็กมีโอกาสได้พัฒนาตนเอง สามารถก้าวออกไปเผชิญโลกด้วยความมั่นใจ ผ่านการศึกษาที่สมดุลมีบูรณาการในทุกด้านของชีวิต
ครู วอลดอร์ฟ มีหน้าที่ทำให้เด็กรักการเรียนรู้   และครูจะใช้ศิลปะและกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนวิชาการ  และช่วยสร้างแรงกระตุ้นภายในตัวเด็กให้รักการเรียนรู้  ไม่ใช่การทำไปเพื่อการแข่งขันหรือเรียนเพื่อสอบเอาคะแนน
นอกจากนั้นการเรียนการสอนแบบ วอลดอร์ฟ ยังมีลักษณะแยกตามช่วงชั้นเรียนดังนี้
เกรด1-3
สอนตัวอักษรผ่านรูปภาพการเขียน อ่าน สะกดืบทกลอนและละคร
เล่านิทานและตำนาน
สอนตัวเลข การคำนวณขั้นพื้นฐาน การบวก ลบ คูณและหาร
เล่าเรื่องราวของธรรมชาติ การสร้างบ้านและการทำการเกษตร
เกรด4-6
เขียน อ่าน สะกด แกรมม่า บทกลอน และละคร
ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ
เรียนทบทวนบวกลบคูณหาร ร้อยละ และเรขาคณิต
ภูมิศาสตร์ สิ่งมีชีวิต พืชพรรณ ฟิสิกส์พื้นฐาน
เกรด7-8
การเขียนอย่างสร้างสรรค์ การอ่าน สะกด Grammar บทกลอน ละคร
ประวัติศาสตร์ยุคกลาง ยุคเรเนอซอง การค้นพบโลกใหม่ ชีววิทยา
ภุมิศาสตร์  ฟิสิกซ์ เคมีพื้นฐาน อวกาศ
วิชาพิเศษ
งานฝีมือ ถักนิตติ้ง โครเชต์ เลื่อย ครอสติช  งานทอ การทำของเล่น งานไม้ ดนตรี การร้องเพลง Flute  Recorder เครื่องสาย เครื่องเป่า เครื่องเคาะจังหวะ ภาษาต่างประเทศ ศิลปะ สีน้ำแบบเปียกบนเปียก (Wet on Wet)  , Form drawing  งานปั้นดินและขี้ผึ้ง  การเขียนทัศนียภาพ ยูริธมี่ ยิมนาสติก เกมที่เล่นเป็นกลุ่ม
4. การศึกษาแบบ วอลดอร์ฟ เริ่มต้นขึ้นอย่างไร
โรงเรียน วอลดอร์ฟ แห่งแรกตั้งขึ้นในช่วงเวลาแห่งความลำบากของชาวเยอรมัน หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ชาวเยอรมันแสวงหาวิธีการเปลี่ยนแปลงสังคมที่โหดร้ายทารุณต่อมนุษยชาติให้ สิ้นไป เอมิล มอลต์ ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ วอลดอร์ฟ แอสโทเรียที่ สตุทการ์ท  เป็นนักอุตสาหกรรมที่ต้องการเปลี่ยนทิศทางของสังคมเสียใหม่ ในค.ศ.1919 เขาได้เชิญ สไตเนอร์ไปบรรยายแนวคิดของเขาให้คนงานในโรงงานฟังและได้รับการร้องขอจากทาง โรงงานให้เปิดโรงเรียนตามปรัชญาของเขาให้แก่บุตรหลานของคนงานรวมทั้งเปิด หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ด้วย สไตเนอร์ตกลง โดยมีเงื่อนไข 4ข้อ คือโรงเรียนต้องรับเด็กทุกคน มีการเรียนรวม สอน12ปี และครูที่รับผิดชอบโดยตรงกับเด็ก ควรจะมีบทบาทนำในโรงเรียน ด้วยการเป็นอิสระจากรัฐและปัญหาเศรษฐกิจ และในที่สุดสามารถเปิดโรงเรียนใน วันที่7กันยายน 1919
5. มีโรงเรียน วอลดอร์ฟ มากแค่ไหน
ตลอดเวลา 80 ปี ที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการก่อตั้งโรงเรียน วอลดอร์ฟ แห่งแรกขึ้น การศึกษา วอลดอร์ฟ ได้แพร่หลายไปทั่วโลกปัจจุบันมีโรงเรียนอนุบาลตามแนวนี้ 087 โรง โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 640 โรง ศูนย์บำบัดกว่า300 แห่ง และสถาบันฝึกหัดครูกว่า 50 แห่ง ใน 56 ประเทศทั่วโลก รองรับนักเรียนกว่า 120000 คน
6. อะไรคือ ปรัชญา เบื้องหลังการศึกษา วอลดอร์ฟ
วอลดอร์ฟ ใช้หลักมนุษยปรัชญาเป็นแนวคิดหลัก  โดย สไตเนอร์ออกแบบให้หลักสูตรรองรับกับพัฒนาการของเด็ก เขาคิดว่าโรงเรียนควรตอบสนองเด็กมากกว่ารัฐบาลหรือเศรษฐกิจ  ดังนั้นเขาจึงพัฒนาโรงเรียนซึ่งกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการคิด อย่างอิสระ
7. ใครคือ รูดอล์ฟ สไตเนอร
รูดอล์ฟ สไตเนอร์ (1861 -1925) นักปราชญ์ผู้ก่อตั้งการศึกษา วอลดอร์ฟ เกิดเมื่อปี ค.ศ.1861 ในฮังการี การศึกษา ของเขาในช่วงต้นคือวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ผลงานเขียนในระยะแรกเกี่ยวกับปรัชญาของคานต์ (Kant ) ต่อมาเขา ได้ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ ปรัชญา และวรรณคดีและศึกษางานของเกอเธต์อย่างลึกซึ้งจนสามารถเป็นบรรณาธิการ งานเขียนทางวิทยาศาสตร์ของเกอเธต์และซิลเลอร์ นักปรัชญาชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียง รูดอล์ฟ สไตเนอร์พัฒนาปรัชญาของ เขาต่อมาอีกด้วยการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่องทฤษฎีว่าด้วยความรู้ อันเป็นผลงานชิ้นสำคัญในชีวิตโดยได้รับการ ตีพิมพ์ในชื่อ The Philosphy of Freedom ” ปรัชญาแห่งความเป็นอิสระและหลุดพ้น งานของเขาตั้งแต่นั้นจนถึงวาระ สุดท้ายของชีวิตคือการศึกษาเรื่องธรรมชาติของมนุษย์และการแสวงหาความจริงของมนุษย์ปรัชญา (Anthroposophy) ซึ่งเขาพัฒนาขึ้นถือเป็นศาสตร์แห่งจิตวิญญาน( Spiritual Science)ที่ก้าวพ้นความจำกัดของการแสวงหาความจริงเฉพาะ จากการรับรู้ที่เป็นรูปธรรมตามปรัชญาของคานต์ไปสู่การแสวงหาความจริงจากการรับรู้ของทั้งกายและจิตทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มิได้แยกจากอารมณ์ความรู้สึกแต่อยู่คู่กันอย่างกลมกลืนจะนำมนุษย์ไปสู่ความเป็น หนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งนั่นคืออิสระและการหลุดพ้น มนุษย์ปรัชญานี้เป็นพื้นฐานการศึกษาของ วอลดอร์ฟ
8. โรงเรียน วอลดอร์ฟ มีวิธี สอนการอ่านอย่างไร   และทำไมนักเรียนวอลดอร์ฟ จึงต้องรอจนเกรด2 ถึงจะเริ่มเรียนการอ่านหนังสือ
การศึกษา วอลดอร์ฟ เกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับเสียงที่เปล่งออกมา โดยปรกติจะเริ่มด้วยการที่ครูเล่าเทพนิยายให้เด็กเล็กจนถึงเกรด 1 ฟัง   การเล่าเทพนิยายด้วยปากเปล่าถูกใช้ตลอดการศึกษาของ วอลดอร์ฟ ความรอบรู้และเข้าใจในการสือสารด้วยการเปล่งเสียงด้วยปากเปล่าจะถูกพบได้ตลอดการเรียน ในระหว่างเกรดแรกของการเรียน  จะยังไม่มีการสอนการอ่าน  แต่จะเริ่มด้วยการสอนเขียน โดย เด็กๆจะได้เรียนรู้ว่า ตัวอักษรแต่ละตัวมีที่มาอย่างไร  ค้นพบว่าสิ่งที่คนโบราณพัฒนาตัวอักษรแต่ละตัวมาจากรูปภาพนั้นเป็นอย่างไร  การเขียนถูกพัฒนาค่อยเป็นค่อยไปจากงานศิลปะของเด็ก  และความสามารถในการอ่านของเด็กก็ถูกพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติ
9. ทำไมถึงการศึกษา วอลดอร์ฟ จึงเน้นงานประเพณีในเทศกาลต่างๆอย่างมาก
งานประเพณีในวาระเทศกาลตามฤดูกาลต่างๆ เป็นการเชื่อมโยงมนุษย์เข้ากับจังหวะของธรรมชาติและจักรวาล งานประเพณีกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคโบราณ  และยืนยงมาถึงปัจจุบัน   เพื่อที่จะมีอารมณ์ร่วมในแต่ละฤดูกาลของปี  เป็นการสะท้อนสภาวะภายในของจิตวิญญาณ   งานเฉลิมฉลองเป็นเหมือนงานศิลปะอย่างหนึ่ง   มันเป็นความสุขที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่การได้ลงมือกระทำ  การตระเตรียมงาน  การฉลอง และความทรงจำที่ดีกับงานเทศกาลนั้นๆ
10.ทำไมโรงเรียน วอลดอร์ฟ จึงไม่เห็นด้วยกับการดูทีวี
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะได้พบว่า การดูทีวีส่งผลกระทบ ทางกายภาพอย่างมากต่อเด็กที่กำลังอยู่ในช่วงอายุของการเติบโตและพัฒนา  จาก รายการต่างๆที่อยู่ในทีวี  สื่อทีวีถูกเชื่อว่าเป็นตัวปิดกั้นการพัฒนาจินตนาการของเด็ก   ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเด็ก แต่ละคนให้มีคุณภาพ  ทีวีนำเสนอสิ่งที่เป็นความรู้สำเร็จรูป  บั่นทอนเวลาที่เด็กจะได้ใช้ไปกับการค้นพบความจริงด้วยตัวเอง  จากการเล่น จากการปฏิบัติ  และตรึงสายตาและร่างกายให้หยุดนิ่งอยู่กับจอทีวี  เมื่อตาเด็กจ้องอยู่ที่ทีวี การเคลื่อนไหวของดวงตาจะลดลงไปสู่การจ้องที่จุดเดียว เด็กเล็กจำเป็นต้องมีการฝึกการเคลื่อนไหวเพื่อหาโฟกัส เป็นการออกกำลังให้สายตาเข้มแข็ง   ขบวนการเรียนรู้หรือการตื่น กระตือรือร้น ซึ่งเด็กเล็กๆจะฝึกเรียนรู้จากการลงมือกระทำ   จากการดูจนเกิดพลังเจตจำนง เช่น อยากอ่านหนังสือ  แต่ทีวีจะทำให้ผู้ดูขณะที่ดูเฉื่อยชา ขาดแรงจูงใจความมุ่งมั่น และทำให้ไม่ได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะต่างๆของร่างกาย  ทั้งนี้คอมพิวเตอร์ก็มีผลกระทบกับเด็กเช่นเดียวกับทีวี ไม่ใช่แต่ในโรงเรียน วอลดอร์ฟ เท่านั้นที่คิดเช่นนี้  หนังสือหลายๆเล่มในหลายปีที่ผ่านมา ก็ได้พูดถึงผลของทีวีต่อเด็กไว้มากมาย
11. ทำไมเด็กนักเรียน วอลดอร์ฟ ถึงมีครูประจำชั้นคนเดิมตลอด 8 ปี
การศึกษา วอลดอร์ฟ เห็นว่า ในระหว่างอายุ 7-14 ปี เด็กเรียนรู้ได้อย่างมากจากการยอมรับและการเลียนแบบ     ในช่วงแรกๆของเด็ก เด็กจะเรียนรู้จากเลียนแบบ   ในชั้นประถมต้นเป็นช่วงที่เด็ก  พึ่งเริ่มพบกับประสบการณ์ใหม่เพิ่มเติมจากที่บ้านและครอบครัว   ชั้นเรียนเปรียบเสมือนครอบครัวอีกครอบครัวหนึ่ง และครูก็เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
ด้วยแนวคิดเช่นนี้  เด็กและครูได้เรียนรู้กันและกัน  และตลอดช่วงหลายปีที่อยู่ด้วยกัน  ครูจะค่อยๆเรียนรู้และค้นพบแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการช่วยพัฒนาเด็กแต่ละ คนแต่ละคนไป   ครูประจำชั้นเปรียบเสมือนสมาชิกคนหนึ่ง ของครอบครัวของชั้นเรียนของเด็กๆ
ความรู้สึกและความมุ่งมั่นตั้งใจของครูถูกถ่ายทอดสู่เด็กโดยตรงด้วยพลัง ทั้งหมดในตัวครู    ครูไม่ใช่เพียงแค่ผู้อำนวยการ ความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็ก  ครูมิใช่เป็นผู้เรียกร้องหรือสร้างกฎเกณฑ์การกระทำของเด็ก  แต่ครูเป็นผู้ส่งพลังความมุ่งมั่นที่มีในตัวทั้งหมดให้แก่เด็กโดยการเป็นแบบ อย่างของบุคคลที่พัฒนาความเป็นมนุษย์ในตัวเองตลอดเวลา  พลังความมุ่งมั่นตั้งใจของครูจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนากายและจิตวิญญาณ ของเด็กทั้งในวัยด็กและวัยผู้ใหญ่
12. จะมีปัญหาหรือไม่เมื่อเด็กจากโรงเรียน วอลดอร์ฟ เปลี่ยนไปเรียนโรงเรียนแบบปรกติทั่วไป
โดยปกติแล้วการย้ายไปเรียนโรงเรียนทั่วไป ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด  โดยปรกติที่อาจเกิดขึ้นคือเด็กย้ายไปเรียนในโรงเรียนทั่วไปในช่วงไฮสคูล   ซึ่งก็ไม่ได้พบความยุ่งยากแต่อย่างใด เพราะในโรงเรียน วอลดอร์ฟ เด็กได้เรียนรู้พื้นฐานของการ แสวงหาความรู้ ความรักที่จะเรียนรู้ สำหรับการย้ายไปเรียนในช่วง เกรด 1-4  มีแนวโน้มที่จะมีปัญหา  เนื่องเพราะความแตกต่างในแผนการเรียนการสอน   เด็กเกรด 2 ในโรงเรียนทั่วไป สามารถอ่านได้แล้ว ขณะที่เด็กใน วอลดอร์ฟ ยังพึ่งเริ่มเรียน   ในทางตรงข้ามเด็กวอลดอร์ฟจะก้าวหน้าไปมากกว่าแล้วในวิชาคณิตศาสตร์
13. อะไรคือ มนุษยปรัชญา
มนุษยปรัชญา หรือ Anthroposophy มาจากรากศัพท์ของคำสองคำ คือ anthro แปลว่า มนุษย์ sophy แปลว่าปัญญา (wisdom) Anthroposophy เป็นแนวปรัชญาที่ Dr.Rudolf Steiner คิดค้นขึ้นมา จากการไต่สวนเฝ้าสังเกตทางวิทยาศาสตร์ สไตเนอร์มีความคิดว่าวิทยาศาสตร์สมัยใหม่อธิบายมนุษย์ได้เพียงแค่ด้านกายภาพ ปฏิเสธสิ่งที่จับต้องไม่ได้ และยึดติดทัศนคติทางด้านวัตถุนิยมเกินไป เช่นการมองว่าหัวเป็นแค่เครื่องปั๊มเลือดให้ไหลเวียนในร่างกาย สมองเป็นดั่งเครื่องจักรแปรสัญญาณเท่านั้น สไตเนอร์ อธิบายว่า ถ้าต้องการทำความเข้าใจมนุษย์นั้น ต้องมองดูให้ทั่วทั้งสามด้านคือ กาย ใจ และจิตวิญญาณ (Body – Soul – Spirit) และมนุษย์นั้นประกอบด้วยกายสี่กาย ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับอาณาจักรธรรมชาติสี่อาณาจักร คือ มนุษย์มีกายร่างที่จับต้องได้ (Physical body) เช่นเดียวกับอาณาจักรแร่ธาตุ พืช และสัตว์ มนุษย์มีกายชีวิต (Etheric body) ซึ่งเป็นพลังทำงานอยู่ในกายร่างเช่นเดียวกับอาณาจักรพืชและสัตว์ มนุษย์มีกายแห่งความรู้สึก (Astral body) เช่นเดียวกับอาณาจักรสัตว์ แต่มนุษย์เป็นหนึ่งเดียวในธรรมชาติที่มีกายแห่งความสำนึกตัวตนแบบปัจเจกชน (Spirit body or the Ego) ซึ่งทำให้มนุษย์แต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน แม้จะมีชาติพันธุ์ และอยู่ในวัฒนธรรมสังคมเดียวกันก็ตาม มนุษย์สามารถพัฒนาอารยธรรม ขณะเดียวกันก็สามารถทำลายได้เช่นกัน มนุษยปรัชญาเสนอแนวทางให้มนุษย์ได้ค้นหาและเรียนรู้ตามเส้นทางที่ตนเลือก เป็นวิถีปฏิบัติสู่ปัญญาญาณ มากกว่าที่จะเป็นศาสนา หรือเป็นข้อสรุป แต่เป็นผลจากการศึกษาด้วยตนเอง (Self education) มากกว่า
14. ยูริธมี่คืออะไร
ยูริธมี่คือศิลปแห่งการเคลื่อนไหว  ที่สไตเนอร์ได้พัฒนาขึ้นป็นศิลปแห่งการเคลื่อนไหวร่างกายที่แสดงให้เห็นกฎ เกณฑ์และโครงสร้างภายในของภาษาพูดและดนตรี ยูริธมี่จึงมีอีกชื่อว่าเสียงพูดและดนตรีที่มองเห็นได้  การฝึกยูริธมี่ช่วยจัดระเบียบและความกลมกลืนทั้งกายและจิตระดับต่างๆ  ยูริธมี่สำหรับเด็กปฐมวัย มักเป็นคำกลอนที่ผูกเป็นนิทานหรือเรื่องเล่าสั้นๆ ที่ให้เด็กทำท่าประกอบ  ท่าทางที่ออกแบบมานั้นเปรียบเหมือนท่าที่เป็นลมหายใจเข้าและออก
15. วอลดอร์ฟ มีการพัฒนาครูอย่างไร
เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียน วอลดอร์ฟ คือ การพัฒนาครู หลักสูตรและการทำงานของครูมีพื้นฐานมาจากปรัชญาวิธีการมองมนุษย์และโลกที่ เรียกว่ามนุษย์ปรัชญา”(Anthroposophy)อันเป็นการค้นหาในระดับที่ลึกซึ่งว่า มนุษย์คืออะไรนี่เป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกระหว่างมนุษย์ กับโลกและเอกภพแนวทางการศึกษาของสไตเนอร์ก่อเกิดมาจากการมองความสัมพันธ์ ระหว่างธรรมชาติมนุษย์และสังคมปรัชญานี้มิใช้คัมภีร์หากเป็นวิถีทางในการ เรียนรู้ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้ด้วยหัวใจที่เปิดกว้างและสมรรถภาพใหม่ๆใน การการรับรู้ การนำปรัชญานี้มาแปรสู่การปฏิบัติเป็นภารกิจที่ครูทุกคนเผชิญหน้าอยู่ทุกวัน โรงเรียน วอลดอร์ฟ มีหลักสูตรและวิธีการสอนที่เฉพาะเจาะจงแต่ก็ยืดหยุ่น    มีวิธีการฝึกอบรมครูโดยเฉพาะสิ่งที่ครูจะต้องเรียนรู้คือปรัชญาชีวิตเมื่อ ปรับความคิดให้เข้ากับปรัชญานี้แล้วสิ่งนี้ก็จะอยู่ในจิตสำนึกของครูความ สามารถในการสอนก็จะเกิดขึ้นมาได้เองโดยก่อกำเนิดออกมาจากองค์รวมสไตเนอร์ เห็นว่าปัญหาสำคัญที่สุดของการศึกษาคุณภาพของครูฉะนั้นภารกิจประการแรก ทางการศึกษา  ก็คือการพัฒนาครู เพื่อครูจะได้เข้าสู่ห้องเรียนด้วยความมีสติ ไม่ใช่แค่เฉพาะในสิ่งที่สอนหรือเตือนเด็ก หรือมิใช่มีเฉพาะความเชี่ยวชาญในการสอนเท่านั้น สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกซึ่งเราจะต้องพัฒนาขึ้นมาอย่างแน่นอนแต่เราจะ พัฒนาขึ้นมาได้อย่างถูกทางหากตระหนักใความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่าง  ความคิดในใจเรากับผลที่การสอนของเรามีต่อนักเรียนทั้งกาย ใจ เส้นทางการพัฒนาของครูคือก้าวเข้าสู่จิตสำนึกของมนุษย์และเอกภพ พร้อมทั้งก้าวเข้าสู่การสอนในฐานะบทฝึกฝนจิตสำนึกดังกล่าว ครูไม่เพียงต้องบ่มเพาะนักเรียนในห้องเท่านั้น หากยังต้องบ่มเพาะตนเองด้วย งานสอนไม่เพียงเป็นการพัฒนานักเรียนหากแต่ยังเป็นการพัฒนาตัวครูเองด้วยงาน อาชีพและการแสวงหาความหมายของตัวเองกลายเป็นสิ่งเดียวกันด้วยเหตุนี้จึงก่อ ให้เกิดความกระตือรือร้นพลังการทุ่มเทชีวิตจิตใจอันเป็นบรรยากาศของโรงเรียน วอลดอร์ฟหลักสูตรและวิธีการของ วอลดอร์ฟ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างยืดหยุ่นกว้างขวางครูจึงมีอิสระที่จะใช้ความ สร้างสรรค์ส่วนตัวในห้องเรียนได้เต็มที่ขณะเดียวกันก็มีวิสัยทัศน์และ วัตถุประสงค์รวมกันเป็นหลักยึด ครูทุกคนมีพันธะทางใจร่วมกันต่อปรัชญาอันเป็นที่มาของหลักสูตร ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความละเอียดอ่อนต่อเด็กจะทำให้ครูพยายามจัดรูป เนื้อหาของวิชาให้มีชีวิตชีวา เพื่อให้เหมาะสมกับภูมิหลัง ความสามารถและลักษณะเฉพาะของนักเรียนแต่ละกลุ่ม ครูจะศึกษาร่วมกัน ปรึกษาหารือกัน กำหนดนโยบาย บริหารกิจกรรมของโรงเรียนร่วมกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหาทางช่วยเหลือกันในการพัฒนาเด็ก สไตเนอร์ย้ำว่า ครูต้องไม่เพียงทำงานร่วมกันเท่านั้น แต่ยังทำงานให้กันอีกด้วย
ที่มาของบทความและขอบคุณ http://parentschool.wordpress.com ที่แปลบทความนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น