กลยุทธ์ในการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง | |
รศ. สมใจ ฤทธิสนธี อาจารย์พิเศษ, กศ.บ.(ภาษาอังกฤษ),กศ.ม.(จิตวิทยาและการแนะแนว) |
่ การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวความคิดที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีบทบาท มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้โดยการลงมือกระทำ ปฏิบัติ แก้ปัญหา หรือ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยยึดความสนใจ ความสามารถ ของผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง และนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้ ตลอดจนเน้น กระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง จะเรียนอย่างมีความสุข มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ มีจิตใจที่สดชื่นแจ่มใสในระหว่างดำเนินกิจกรรม ก. จุดมุ่งหมายของการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ๑. เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น ๒. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถต่างๆ ตามความสามารถของตน ๓. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำ ปฏิบัติหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ๔. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสนใจความสามารถของตนเอง ๕. เพื่อให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงการเรียนรู้กับสภาพชีวิตประจำวัน ๖. เพื่อให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้กับเพื่อนๆ ข. ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ๑. จัดตามความสนใจ ความสามารถ ตั้งแต่การร่วมกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ และ การประเมินผล ๒. จัดให้ผู้เรียนได้ลงมือทำกิจกรรม ปฏิบัติ แก้ปัญหาหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากสื่อเพื่อน และครู ๓. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะต่างๆ เช่น ทักษะทางการคิดวิเคราะห์ การสังเกต การทดลองค้นคว้า การจดบัน ทึกตลอดจนการสังเคราะห์การสรุปข้อความรู้ต่างๆของตนเอง ๔. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ๕. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกับเพื่อนๆจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ค. ประเภทของการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ การสอนแบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก และการสอนแบบเน้นสื่อ ๑. แบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก การสอนแบบนี้ได้แก่ ก. การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ( Problem Base Learning ) เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียนรู้ ผู้เรียนจะคิดวิเคราะห์ปัญหา ตั้งสมมุติฐานอันเป็นที่ มาของปัญหา และหาทางทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ผู้เรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่จะเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ มาก่อน เพื่อจะสามารถ เรียนรู้เนื้อหาใหม่ โดยกระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลักได้ หากพื้นความรู้เดิมของผู้เรียนไม่เพียงพอ จะต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่ม เติมด้วยตนเองในการดำเนินการสอนครูจะต้องนำปัญหาที่เป็นความจริงมาเขียนเป็น Case หรือสถานการณ์ในผู้เรียน โดยผู้เรียน จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ ๑. ทำความเข้าใจกับศัพท์บางคำ หรือแนวคิดบางอย่างในสถานการณ์นั้นๆ ๒. ระบุประเด็นปัญหาจากสถานการณ์ ๓. วิเคราะห์ประเด็นปัญหา ๔. ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ ๕. ทดสอบสมมุติฐานและจัดลำดับความสำคัญ ๖. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ๗. รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร และความรู้จากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง ๘. สังเคราะห์ข้อมูลใหม่ที่ได้ พร้อมทั้งทดสอบ ๙. สรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาปัญหา กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก มีลักษณะที่สำคัญ คือ ผู้เรียนจะ ได้เรียนด้วยกันเป็นกลุ่มๆ ประมาณ ๖ – ๘ คน มี การอภิปรายและค้นคว้าหาความรู้ด้วยกัน มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง เนื้อหาสาระที่กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้นั้น จะเป็นเนื้อหาที่เกิด จากการบูรณาการเนื้อหาต่าง ๆเข้าด้วยกัน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่กำหนดนั้นอย่างชัดเจน ข. การสอนแบบนิรมิตวิทยา ( Constructivism ) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเอง โดยมีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับความรู้ เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของผู้เรียนอาจได้จากการดำเนินกิจกรรมการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ระดมสมอง ศึกษาในความรู้ ฯลฯ การตรวจสอบองค์ความรู้ใหม่ทำให้ได้ทั้งการตรวจสอบกันเอง ในระหว่างกลุ่มผู้เรียน ครูจะเป็น ผู้ที่ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ใหม่ให้ถูกต้อง ลำดับขั้นตอนการสอนตามแนวความคิด Constructivism |
|
รายละเอียดของการดำเนินการสอนตามรูปแบบมีดังนี้ ๑. ครูบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน ๒. ครูให้ผู้เรียนระดมพลังสมองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน ๓. ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน ๔. ครูให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นมาใช้ในสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้ ๕. ครูให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนครั้งนี้ ค. การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด (Concept Attainment) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนทราบถึงคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุ การณ์หนึ่ง โดยสามารถระบุลักษณะเด่น ลักษณะรองของสิ่งนั้น ๆได้ สามารถนำความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้ ขั้น ตอนการสอนมีดังนี้ ๑. ครูจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการนำเสนอเหตุการณ์รายละเอียดของสิ่งนั้น ๒. ครูให้ผู้เรียนระบุลักษณะเด่น ลักษณะรองของสิ่งที่ได้สังเกตและให้ผู้เรียนหาลักษณะที่เหมือนกัน ลักษณะที่แตกต่างกัน ๓. ครูให้ผู้เรียนสรุปลักษณะสำคัญที่สังเกตได้พร้อมให้ชื่อของสิ่งนั้น ๔. ครูตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนและความเป็นไปได้ ความเหมาะสมของชื่อความคิดรวบยอดนั้น ๕. ครูกำหนดสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนได้นำความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นไปใช้ ง. การสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Co-Operative Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนร่วมมือกันทำงาน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และประสาน งานกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียน ลักษณะของการจัดการเรียนการสอน ๑. จัดชั้นเรียนโดยการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆประมาณ ๒-๖ คน โดยจัดคละกันตามความสามารถทางการเรียน มีทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน ๒. ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและรับผิดชอบการเรียนรู้ของเพื่อน ๆภายในกลุ่มของตนเองด้วย ๓. สมาชิกทุกคนในกลุ่ม จะต้องร่วมมือในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ โดยสนับสนุนยอมรับ และไว้วางใจซึ่งกันและ กัน เพื่อให้สมาชิกทุกคนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด รูปแบบกิจกรรมการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือประสานใจ ๑. Match Mind (คู่คิด) ๒. Pairs-Check (คู่ตรวจสอบ) ๓. Tree-Step Interview ๔. Think-Pair Share ๕. Team-Word Webbing ๖. Round table ๗. Partners (คู่หู) ๘. Jigsaw จ. การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการใช้ความคิด พิจารณาตัดสินเรื่องราวปัญหา ข้อสงสัยต่าง ๆอย่างรอบคอบ และมีเหตุผล ครูจะเป็นผู้นำเสนอปัญหาและดูแลให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมของผู้เรียน กิจกรรม การสอนจะเริ่มจากปัญหาที่สอดคล้องกับวุฒิภาวะและประสบการณ์ของผู้เรียน ซึ่งยั่วยุผู้เรียนให้อยากศึกษา ผู้เรียนจะรู้สึกว่าไม่มี คำตอบหรือคำตอบมีแต่ไม่เพียงพอ ผู้เรียนต้องมีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และใช้กระบวนการคิดอย่างหลากหลาย รวมทั้งวิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล และเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การตัดสินเพื่อเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดกับปัญหาที่ นำมาใช้ในบทเรีย ขั้นตอนการสอนมีดังนี้ ๑. ครูนำเสนอปัญหาซึ่งเป็นคำถามที่เร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิด ผู้เรียนตอบคำถามของครูโดยให้คำตอบที่หลากหลาย ๒. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดโดยการอภิปรายร่วมกัน หรือให้ค้นคว้าจากแหล่งความรู้เท่าที่มีอยู่ ๓. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันคัดเลือกคำตอบที่ตรงกับประเด็นปัญหา ๔. ครูให้ผู้เรียนสรุปคำตอบที่เด่นชัดที่สุด ๒. แบบเน้นสื่อ เป็นประเภทของการสอนในลักษณะใช้สื่อเป็นหลัก เช่น การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป การสอนแบบศูนย์การเรียน การ สอนโดยใช้โปรแกรม CAI เป็นต้น ง. การวัดผลและประเมินผล การวัดผลและประเมินผลตามแนวการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะนิยมใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพแท้จริงใน ห้องเรียน (Authentic Assessment) ทั้งนี้เนื่องจากการวัดและประเมินผลตามสภาพที่แท้จริงในห้องเรียน จะเป็นการวัดและ ประเมินผลที่บอกถึงระดับความรู้ ความสามารถที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน อันเนื่องมาจากการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจนกระทั่งได้ชิ้น งานในรูปแบบหนึ่งออกมาในตอนสุดท้าย เทคนิคที่นิยมใช้ตามแนว A.A ได้แก่การใช้ Portfolio การใช้แบบทดสอบความสา มารถจริง (Authentic Test) การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสัมภาษณ์เป็นต้น จ. บทบาทของครูตามแนวการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง บทบาทของครูตามแนวการสอนนี้ จะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีบทบาทใหม่ ดังนี้ ๑. เป็นผู้จัดการ (Manager) เป็นผู้กำหนดบทบาทให้ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับความ สามารถ ความสนใจของผู้เรียน ๒. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งความรู้ (Helper and resource) เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการในยามที่ผู้เรียน ต้องการ อันจะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพ ๓. เป็นผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนการสอน ให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านสื่ออุปกรณ์ คำแนะนำ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำ เนินกิจกรรมไปได้อย่างราบรื่น ๔. เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ คอยตรวจสอบกระบวนการทำงาน ผลงานของผู้เรียน รวมทั้งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เพื่อนำผลมาปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป ฉ. บทบาทของผู้เรียนตามแนวการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ๑. เป็นผู้ลงมือกระทำ ผู้เรียนจะต้องดำเนินกิจกรรมต่าง ๆที่ครูจัดเตรียมให้ด้วยตนเอง เพื่อผลในการเรียนรู้ ๒. เป็นผู้มีส่วนร่วม ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน ๓. เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น สร้างความสัมพันธ์กับผู้ เรียนอื่น ๆ ในกลุ่มเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ๔. เป็นผู้ประเมิน ผู้เรียนจะต้องคอยตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยการประเมินผลด้วยตัวเอง และผู้ เรียนในกลุ่มเป็นต้น |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น