เลื่อน

นายสิทธิศักดิ์ ปะวันเณ นิสิตชั้นปีที่ 2 รหัส 53010515009 สาขาการศึกษาพิเศษ SED คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทเรียนโมดูล


(Instructional Module)





บทเรียนโมดูลหรือหน่วยการเรียนจัดเป็นกลุ่มประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมาย
โมดูลอาจจะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น สไลด์ ภาพ การทดลอง หนังสือหรือเอกสาร
ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละสาขาวิชา

บทเรียนโมดูล
เป็นสื่อการเรียนชนิดหนึ่งที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียน
ได้เกิดความรู้ตามความต้องการ โดยที่บทเรียนนั้นจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างแน่นอน
มีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน
มีการประเมินผลก่อนและหลังเรียน มีการทดสอบย่อยในทุก ๆหน่วยของโมดูล
และการเรียนซ่อมเสริมด้วยกระบวนการเรียนการสอนจะเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าผู้สอน


คุณสมบัติที่สำคัญของบทเรียนโมดูล

1. โปรแกรมทั้งหมดถูกขยายเป็นส่วน ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน
    และสามารถมองเห็นโครงร่างทั้งหมดของโปรแกรม
2. ยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดระบบการเรียนการสอน
3. มีจุดประสงค์ในการเรียนที่ชัดเจน
4. เน้นการเรียนด้วยตนเอง
5. ใช้วิธีการสอนแบบต่าง ๆ ไว้หลายอย่าง
6. เน้นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) เข้ามาใช้ในการสร้าง

องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล 
1. หลักการและเหตุผล (Prospectus)
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
3. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Assessment)
4. กิจกรรมการเรียน (Enabling Activities)
5. การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment)

แบบแผนของบทเรียนโมดูล
ชื่อเรื่อง (A Title Page)
ขั้นตอนของกระบวนการเรียน (The Body of the Description)
มีลำดับขั้น ดังนี้

1. หลักการและเหตุผล
2. จุดประสงค์
3. ความรู้พื้นฐาน
4. การประเมินผลก่อนเรียน
5. กิจกรรมการเรียน
6. การประเมินผลหลังเรียน
7. การเรียนซ่อมเสริม
8. ภาคผนวก (Appendix)

ขั้นตอนในการสร้างบทเรียนโมดูล1. การวางแผน
2. การสร้าง
3. การทดสอบต้นแบบ
4. ประเมินผลบทเรียน

ประโยชน์ของบทเรียนโมดูล

เป็นบทเรียนสำเร็จรูป
เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มีระเบียบแบบแผนและรวมการสอนหลาย ๆ อย่าง
เอาไว้ด้วยกัน
ช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความสามารถและความก้าวหน้าของตนทุกระยะ
ช่วยลดภาระของครูในการสอนข้อเท็จจริงต่าง ๆ

ดูรายละเอียดได้ที่.. 
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น